การสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการสอนในระดับอื่นคือ สามารถทำได้ทุกเวลาเมื่อมีโอกาส สำหรับจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยนั้น เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิด ค้นคว้า แก้ปัญหา และเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่เด็ก โดยต้องคำนึงถึงการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กตามระดับพัฒนาการด้วย หลักการสอนคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์หรือการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้ 1. จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน 2. จัดประสบการณ์ที่ทำให้เด็กได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง 3. มีการวางแผนอย่างดีและมีจุดมุ่งหมาย 4. คำนึกถึงการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก 5. สังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้ของเด็ก 6. ใช้ประสบการณ์เดิมของเด็ก ในการสอนประสบการณ์ใหม่ และสถานการณ์ใหม่ๆ 7. รู้จักใช้สถานการณ์ในขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ 8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตประจำวัน 9. ให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข 10. ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง 11. แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอ 12. ควรสอนความคิดรวบยอดในและครั้ง 13. แก้ไขปัญหาการการเรียนรู้ที่ได้จากการเล่นจากง่ายไปหายาก 14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลข หรือเครื่องหมาย 15. ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนคณิตศาสตร์ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้พหุปัญญา โดยการ์ดเนอร์ ได้กล่าวไว้ว่า บุคคลทุกคนมีความสามารถทุกด้าน แต่มีอยู่ในระดับที่ไม่เท่ากัน และมักจะมีความสามารถอย่างน้อยหนึ่งด้าน ที่เด่นกว่าด้านอื่นๆ ความสามารถในแต่ละด้านจะถูกควบคุมโดยสมองส่วนต่างๆ เมื่อใดที่สมองส่วนนั้นถูกทำลาย ความสามารถด้านนั้นก็จะลดลงไปด้วย และเมื่อความสามารถด้านใดได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพแล้ว จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาความสามารถด้านอื่นๆให้พัฒนามากขึ้น 2. ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ ความรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ เกิดจากประสบการณ์ของเด็กในการลงมือกระทำกับวัตถุ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ได้มาจากการจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ และมีโอกาสพบกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหา มีการใช้คำถามที่กระตุ้นให้ใช้ความคิดไตร่ตรองถึงวิธีการแก้ปัญหา รวมทั้งลงมือแก้ปัญหาจากสื่อที่เป็นรูปธรรม ภายใต้บรรยากาศของการมีปฎิสัมพันธ์และความเท่าเทียมกัน 3. ทฤษฎีการเรียนการสอนของบรูเนอร์ ตามแนวคิดของบรูเนอร์นี้ นำมาใช้ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์หลายๆ รูปแบบ เช่น การใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม การใช้ภาพ การใช้ภาษาเขียน การใช้ภาษาพูด และการใช้สถานการณ์จริง โดยการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นให้เด็กได้พูดและเขียนมากขึ้น รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้แก่ การสอนโดยเน้นความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์และการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ การสอนตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ และการสอนแบบบูรณาการ เป็นต้น ซึ่งการสอนแต่ละรูปแบบนี้ให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เหมือนกัน แต่มีกระบวนการในการจัดการเรียนรู้แตกต่างกัน ส่วนเทคนิควิธีการสอนคณิตศาสตร์มีมากมายหลายวิธี ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ต้องรู้จักใช้ตามความเหมาะสม เช่น การยกตัวอย่างและการสร้างโจทย์ปัญหา การใช้สื่อการสอนจากวัสดุต่างๆ การสร้างวัสดุประกอบการสอน กิจกรมนันทนาการ การใช้รูปเรขาคณิตศาสตร์รูปต่างๆ การต่อภาพ การใช้โจทย์แบบฝึกหัด การใช้สื่อการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหา การปฏิบัติจริงและการสอนซ่อมเสริม และกลวิธีที่ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ได้แก่ การนำเข้าสู่บทเรียน การใช้คำถาม การยกตัวอย่าง และการสรุปบทเรียน สื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คุณค่าของสื่อการสอน สื่อการสอนทั้งวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ชวนส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เรียนมากขึ้น เด็กได้สัมผัสสื่อด้วยตัวเองได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู สื่อการสอนยังช่วยสนับสนุนพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาให้กับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือการเล่น ล้วนทำให้เด็กได้พัฒนาทักษะกลไกของร่างกาย ได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ตามจินตนาการ ทำให้เด็กสร้างองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือทำนั้นได้คุณค่าหรือประโยชน์ของสื่อการสอนในการนำมาจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย มีอยู่มากมาย แต่การที่จะทำให้สื่อการสอนเกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของผู้นำสื่อไปใช้ คุณค่าของสื่อการสอนปฐมวัยมีดังนี้ 1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะตรงกับความเป็นจริง มีความหมายชัดเจน 2. เด็กเรียนรู้ได้มากขึ้น 3. เด็กเกิดความประทับใจ และไม่ลืมง่าย 4. ช่วยให้เด็กสนใจและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 5. ส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา 6. เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้สะดวก 7. ทำให้สิ่งที่ซับซ้อนง่ายขึ้น 8. ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม 9. ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง 10. ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้เร็วขึ้น 11. ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อขนาดลง 12. ทำสิ่งที่เล็กมากให้ใหญ่ขึ้น 13. นำอดีตมาใช้ศึกษาได้ 14. นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้ |
วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
แนวการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เนื้อเพลงสำหรับเด็ก อังกฤษ-ไทย
Baa Baa Black Sheep.......
Baa Baa Black Sheep have you any wool?
Yes,sir .Yes sir. Three bags full.
One for the master and one for the dame,
and one for the little boy who lives doen the lane
แบ๊ะ แบ๊ะเจ้าแกะดำ มีขนฟูหรือไม่
มีสิ มีสิครับ มีคั้งสามถุงเต็มๆ
หนึ่งถึงให้เจ้านาย หนึ่งถุงสำหรับคุรผู้หญิง
อีกหนึ่งถึงให้เด็กผู้ชายที่อยู่ในซอย
-------------------------------------------------------
Incy Wincy Spider.....
Incy "Wincy Spider climbing up the spout
Down came the rain and washed the spider out.
Out came the sunshine and dried up all the rain,
So Incy Wincy Spider climbed up the spout again.
เจ้าแมงมุม ไต่ขึ้นไปตามรางน้ำ
ฝนตกลงมา เจ้าแมงมุมไหลร่วงหล่นตามน้ำฝน
พระอาทิตย์ส่องแสง น้ำฝนแห้งเหือดหาย
เจ้าแมงมุมรีบไต่ขึ้นตามรางน้ำอีกครั้ง
----------------------------------------------------------------
Sing A Rainbow.....
REd and yellow and indigo and green,
purple and orange,and blue.
I can sing a rainbow, sing an rainbow,
sing a rainbow,too
แดง หลือง คราม เขียว
ม่วง ส้ม น้ำเงิน
ฉันร้องเพลงสายรุ้ง ร้องเพลงสายรุ้ง เพลงสายรุ้ง
---------------------------------------------------------------
I'm a Little teapot...
I'm a little teapot short and stout.
Here's my handle, here's my spout
When I see the teacups,hear me shout.
Tip me up and pour me out.
ฉันเป็นการน้ำชา ตัวสั้นบึกบึน
นี่คือหูจับของฉัน นี่คืพวยกาของฉัน
เมื่อฉันเจอถ้วยชา ฉันร้องตะโกนบอกไป
หยิบฉันไป แล้วรินน้ำชาใส่สิ
------------------------------------------------]
Twinkle Twinkle Little Star....
Twinkle,twinkle little star.
How I wonder what you are?
Up above the world so high,
like a diamond in the sky
Twinkle, twinkle little star
How I wonder what you are?
กระพริบ ระยิบระยับ เจ้าดาวดวงน้อย
ฉันสงสัย เจ้าคืออะไรกัน
อยู่เหนือสูงขึ้นไป ราวกับเพชรบนท้องฟ้า
กระพริบ ระยิบระยับ เจ้าดาวดวงน้อย
ฉันสงสัย เจ้าคืออะไรกัน
-------------------------------------------
Two Clean Hands
TWo clean hands and two fat thumbs
eight little fingers ten little toes
one round head, goes nod, nod, nodding
two eyes peeping, one tiny nose.
สองมือสะอาด สองนิ้วโป้งอันอ้วนกลม
อีกแปดนิ้วมือน้อยๆ และสิบนิ้วเท้าเล็กๆ
หนึ่งหัวกลมๆผงก ผงก ผงก
สองตาแอบมอง และหนึ่งจมูกอันเล็กหรืออันจิ๋ว
-----------------------------------------------------------
If You're Happy And You Know It...
If you're happy and you know it,clap your hands.
If you're happy and you know it,clap your hands.
If you're happy and you know it, and you really want to show it,
If you're happy and you know it,clap your hands
If you're happy and you know it stamp your feet.
If you're happy and you know it,stamp your feet.
If you're happy and you know it, and you really want to show it,
If you're happy and you know it stamp your feet
If you're happy and you know it nod your head
If you're happy and you know it nod your head
If you're happy and you know it, and you really want to show it,
If you're happy and you know it nod your head
ถ้าเธอมีความสุข ก็จงปรบมือ
ถ้าเธอมีความสุข ก็จงปรบมือ
ถ้าเธอมีความสุข และอยากแสดงออกมา
ถ้าเธอมีความสุข ก็จงปรบมือ
stamp yr feet (ย่ำเท้า)
nod yr head (ส่ายหัว หรือผงก)
--------------------------------------------------
This is the way
This is the way we wash our hands,
wash our hands wash our hands,
This is the way we wash our hands,
on a cold and frosty morning.
This is the way we clean our teeth,
clean our teeth,clean our teeth,
This is the way we clean our teeth
on a cold and frosty morning.
This is the way we wash our face,
wash our face,wash our face,
This is the way we wash our face,
on a cold and frosty morning.
นี่คือวิธีที่เราล้างมือ ล้างมือของเรา ล้างมือของเรา
นี่คือวิธีที่เราล้างมือ ในเช้าวันที่หนาวเย็น
นี่คือวิธีทำความสะอาดฟัน ทำความสะอาดฟันของเรา
ทำความสะอาดฟันของเรา
นี่คือวิธีทำความสะอาดฟันของเรา ในเช้าวันที่หนาวเย็น
นี่คือวิธีที่เราล้างหน้า ล้างหน้าของเรา ล้างหน้าของเรา
นี่คือวิธีที่เราล้างหน้า ในเช้าวันที่หนาวเย็น
Baa Baa Black Sheep have you any wool?
Yes,sir .Yes sir. Three bags full.
One for the master and one for the dame,
and one for the little boy who lives doen the lane
แบ๊ะ แบ๊ะเจ้าแกะดำ มีขนฟูหรือไม่
มีสิ มีสิครับ มีคั้งสามถุงเต็มๆ
หนึ่งถึงให้เจ้านาย หนึ่งถุงสำหรับคุรผู้หญิง
อีกหนึ่งถึงให้เด็กผู้ชายที่อยู่ในซอย
-------------------------------------------------------
Incy Wincy Spider.....
Incy "Wincy Spider climbing up the spout
Down came the rain and washed the spider out.
Out came the sunshine and dried up all the rain,
So Incy Wincy Spider climbed up the spout again.
เจ้าแมงมุม ไต่ขึ้นไปตามรางน้ำ
ฝนตกลงมา เจ้าแมงมุมไหลร่วงหล่นตามน้ำฝน
พระอาทิตย์ส่องแสง น้ำฝนแห้งเหือดหาย
เจ้าแมงมุมรีบไต่ขึ้นตามรางน้ำอีกครั้ง
----------------------------------------------------------------
Sing A Rainbow.....
REd and yellow and indigo and green,
purple and orange,and blue.
I can sing a rainbow, sing an rainbow,
sing a rainbow,too
แดง หลือง คราม เขียว
ม่วง ส้ม น้ำเงิน
ฉันร้องเพลงสายรุ้ง ร้องเพลงสายรุ้ง เพลงสายรุ้ง
---------------------------------------------------------------
I'm a Little teapot...
I'm a little teapot short and stout.
Here's my handle, here's my spout
When I see the teacups,hear me shout.
Tip me up and pour me out.
ฉันเป็นการน้ำชา ตัวสั้นบึกบึน
นี่คือหูจับของฉัน นี่คืพวยกาของฉัน
เมื่อฉันเจอถ้วยชา ฉันร้องตะโกนบอกไป
หยิบฉันไป แล้วรินน้ำชาใส่สิ
------------------------------------------------]
Twinkle Twinkle Little Star....
Twinkle,twinkle little star.
How I wonder what you are?
Up above the world so high,
like a diamond in the sky
Twinkle, twinkle little star
How I wonder what you are?
กระพริบ ระยิบระยับ เจ้าดาวดวงน้อย
ฉันสงสัย เจ้าคืออะไรกัน
อยู่เหนือสูงขึ้นไป ราวกับเพชรบนท้องฟ้า
กระพริบ ระยิบระยับ เจ้าดาวดวงน้อย
ฉันสงสัย เจ้าคืออะไรกัน
-------------------------------------------
Two Clean Hands
TWo clean hands and two fat thumbs
eight little fingers ten little toes
one round head, goes nod, nod, nodding
two eyes peeping, one tiny nose.
สองมือสะอาด สองนิ้วโป้งอันอ้วนกลม
อีกแปดนิ้วมือน้อยๆ และสิบนิ้วเท้าเล็กๆ
หนึ่งหัวกลมๆผงก ผงก ผงก
สองตาแอบมอง และหนึ่งจมูกอันเล็กหรืออันจิ๋ว
-----------------------------------------------------------
If You're Happy And You Know It...
If you're happy and you know it,clap your hands.
If you're happy and you know it,clap your hands.
If you're happy and you know it, and you really want to show it,
If you're happy and you know it,clap your hands
If you're happy and you know it stamp your feet.
If you're happy and you know it,stamp your feet.
If you're happy and you know it, and you really want to show it,
If you're happy and you know it stamp your feet
If you're happy and you know it nod your head
If you're happy and you know it nod your head
If you're happy and you know it, and you really want to show it,
If you're happy and you know it nod your head
ถ้าเธอมีความสุข ก็จงปรบมือ
ถ้าเธอมีความสุข ก็จงปรบมือ
ถ้าเธอมีความสุข และอยากแสดงออกมา
ถ้าเธอมีความสุข ก็จงปรบมือ
stamp yr feet (ย่ำเท้า)
nod yr head (ส่ายหัว หรือผงก)
--------------------------------------------------
This is the way
This is the way we wash our hands,
wash our hands wash our hands,
This is the way we wash our hands,
on a cold and frosty morning.
This is the way we clean our teeth,
clean our teeth,clean our teeth,
This is the way we clean our teeth
on a cold and frosty morning.
This is the way we wash our face,
wash our face,wash our face,
This is the way we wash our face,
on a cold and frosty morning.
นี่คือวิธีที่เราล้างมือ ล้างมือของเรา ล้างมือของเรา
นี่คือวิธีที่เราล้างมือ ในเช้าวันที่หนาวเย็น
นี่คือวิธีทำความสะอาดฟัน ทำความสะอาดฟันของเรา
ทำความสะอาดฟันของเรา
นี่คือวิธีทำความสะอาดฟันของเรา ในเช้าวันที่หนาวเย็น
นี่คือวิธีที่เราล้างหน้า ล้างหน้าของเรา ล้างหน้าของเรา
นี่คือวิธีที่เราล้างหน้า ในเช้าวันที่หนาวเย็น
วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553
กิจกรรมทางดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย
สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วการจัดกิจกรรมดนตรีให้เด็กไม่ใช่เพื่อให้เด็กเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถ
จุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กมีความรักในดนตรี มีพื้นฐานทางดนตรี ดนตรีที่นำมาจัดกิจกรรมให้เด็กมีดังนี้
- การร้องเพลง รวมถึงการพูดคำคล้องจอง การร้องเพลงมีทั้งให้เด็กร้องเดี่ยว ร้องเป็นกลุ่ม
โดยเน้นที่น้ำเสียงของการร้องเพลง ไม่ใช่การตะโกน เพลงที่นำมาสอนต้องเป็นเพลงที่ง่ายๆ ทั้งเนื้อ
ร้อง จังหวะ เป็นเพลงร้องที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน
- การฟังเพลง ควรให้เด็กได้ฟังเพลงทุกประเภท เพื่อปูพื้นฐานทักษะการฟังให้กับเด็กตั้งแต่
เล็กๆ เด็กจะได้คุ้นเคยกับเสียงดนตรี ทั้งเสียงสูง ต่ำ กลาง เพลงที่มีเนื้อร้อง และเพลงบรรเลง
- การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเป็นการตอบสนองทางดนตรีของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำ
ในตอนแรกเป็นการเคลื่อนไหวง่ายๆ ให้เด็กได้สนุกกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ เป็นเพลงที่
มีเนื้อร้องหรือบรรเลง ก็ได้
- การเล่น ควรให้เด็กเล่นเครื่องเล่นประกอบจังหวะที่มีเสียงระดับต่างๆ และที่ไม่มีระดับเสียง
เช่น ระนาด กลอง รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น หรือใช้เครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ใช้เอง
- การอ่าน ควรให้เด็กได้ใช้สัญลักษณ์ที่ง่ายไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์ทางดนตรี
- ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกจากการฟังดนตรีเป็นการสร้างสรรค์ที่ควรจัดประสบการณ์ให้
กับเด็กทั้งการร้อง การเคลื่อนไหว การเล่น เป็นต้น
จุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กมีความรักในดนตรี มีพื้นฐานทางดนตรี ดนตรีที่นำมาจัดกิจกรรมให้เด็กมีดังนี้
- การร้องเพลง รวมถึงการพูดคำคล้องจอง การร้องเพลงมีทั้งให้เด็กร้องเดี่ยว ร้องเป็นกลุ่ม
โดยเน้นที่น้ำเสียงของการร้องเพลง ไม่ใช่การตะโกน เพลงที่นำมาสอนต้องเป็นเพลงที่ง่ายๆ ทั้งเนื้อ
ร้อง จังหวะ เป็นเพลงร้องที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน
- การฟังเพลง ควรให้เด็กได้ฟังเพลงทุกประเภท เพื่อปูพื้นฐานทักษะการฟังให้กับเด็กตั้งแต่
เล็กๆ เด็กจะได้คุ้นเคยกับเสียงดนตรี ทั้งเสียงสูง ต่ำ กลาง เพลงที่มีเนื้อร้อง และเพลงบรรเลง
- การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเป็นการตอบสนองทางดนตรีของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำ
ในตอนแรกเป็นการเคลื่อนไหวง่ายๆ ให้เด็กได้สนุกกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ เป็นเพลงที่
มีเนื้อร้องหรือบรรเลง ก็ได้
- การเล่น ควรให้เด็กเล่นเครื่องเล่นประกอบจังหวะที่มีเสียงระดับต่างๆ และที่ไม่มีระดับเสียง
เช่น ระนาด กลอง รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น หรือใช้เครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ใช้เอง
- การอ่าน ควรให้เด็กได้ใช้สัญลักษณ์ที่ง่ายไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์ทางดนตรี
- ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกจากการฟังดนตรีเป็นการสร้างสรรค์ที่ควรจัดประสบการณ์ให้
กับเด็กทั้งการร้อง การเคลื่อนไหว การเล่น เป็นต้น
วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็กปฐมวัย
พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกเติบโตเป็นคนดี ฉลาด มีความสุขประสบความสำเร็จในการศึกษาและหน้าที่การงาน เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งการที่บุคคลจะประสบความสำเร๊จในชีวิตนั้น นอกจากจะมีความฉลาดทางเชาว์ปัญญาหรือ IQ ยังต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ด้วย
ปัจจุบันพ่อแม่จำนวนมากที่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับ IQ EQ หรือมีอื่นๆ เช่น IQ,EQ,AQ,MQ,SQ
IQ = Inteligence quotient หมายถึงความฉลาดทางสติปัญญา วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90-100 เป็นการวัดความสามารถทางคิด วิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่านเขียน คำนวณ แต่ไม่ได้วัดด้านอื่นๆเช่น ความคิดสร้างสรรค์ ,ทักษะต่างๆในการทำงาน, ทักษะชีวิตประจำวันฯลฯ
การพัฒนา IQ
• 50% จากกรรมพันธุ์
• 50% จากสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู ความรักความอบอุ่น เพราะฉนั้นต้องมีเวลาให้ลูกหลาน อาหารครบห้าหมู่โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามินบี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน, ประสบการณ์ต่างๆ เช่นจากการเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงาน การทำงานศิลปะ ดนตรี กีฬาที่ชื่นชอบ , ได้ฟังนิทาน(วัยเด็กเล็ก) , มองเห็นคุณค่าตนเอง, สัมผัสกับสังคม ชิวิตประจำวัน , อารมณ์ดี ไม่เครียด , ออกกำลังกายอย่าน้อย 30 นาทีต่อวัน จะช่วยให้มีสมาธิ สดชื่น คิดอะไรได้เร็ว อดทน ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดยาเสพติด
ความคิดในทางบวก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ จากการที่ได้รับคำชมเชยเสมอ ได้รับการยอมรับการกระทำต่างๆที่ดี
• 50% จากกรรมพันธุ์
• 50% จากสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู ความรักความอบอุ่น เพราะฉนั้นต้องมีเวลาให้ลูกหลาน อาหารครบห้าหมู่โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามินบี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน, ประสบการณ์ต่างๆ เช่นจากการเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงาน การทำงานศิลปะ ดนตรี กีฬาที่ชื่นชอบ , ได้ฟังนิทาน(วัยเด็กเล็ก) , มองเห็นคุณค่าตนเอง, สัมผัสกับสังคม ชิวิตประจำวัน , อารมณ์ดี ไม่เครียด , ออกกำลังกายอย่าน้อย 30 นาทีต่อวัน จะช่วยให้มีสมาธิ สดชื่น คิดอะไรได้เร็ว อดทน ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดยาเสพติด
ความคิดในทางบวก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ จากการที่ได้รับคำชมเชยเสมอ ได้รับการยอมรับการกระทำต่างๆที่ดี
EQ = Emotional quotient คือความฉลาดทางอารมณ์ การพัฒนา EQ คือ
• รู้อารมณ์ของตนเอง
• เข้าใจอารมณ์ของผู้อิ่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมตตาอารี ช่วยเหลือผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
• ควบคุมอารมณืของตนเองได้ ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่อารมณ์ค้างนาน ไม่ให้ความรู้สึกเก่ามารบกวน การทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่ารัก โกรธ หรือซึมเศร้าโกรธแล้วไม่ผูกใจเจ็บนาน ใจเย็นเมื่อมีสถานการณ์ยั่วยุ จะเป็นคนที่น่านับถือ และจะมีคนกล้าให้คำแนะนำ
• มีระเบียบวินัยในตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่น
• ขยันหมั่นเพียร อดทน กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา มุ่งมั่นแน่วแน่ไม่ลดละ
• รู้อารมณ์ของตนเอง
• เข้าใจอารมณ์ของผู้อิ่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมตตาอารี ช่วยเหลือผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
• ควบคุมอารมณืของตนเองได้ ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่อารมณ์ค้างนาน ไม่ให้ความรู้สึกเก่ามารบกวน การทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่ารัก โกรธ หรือซึมเศร้าโกรธแล้วไม่ผูกใจเจ็บนาน ใจเย็นเมื่อมีสถานการณ์ยั่วยุ จะเป็นคนที่น่านับถือ และจะมีคนกล้าให้คำแนะนำ
• มีระเบียบวินัยในตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่น
• ขยันหมั่นเพียร อดทน กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา มุ่งมั่นแน่วแน่ไม่ลดละ
วิธีฝึกการพัฒนา EQ
• มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น อารมณ์เด็กขึ้นกับอารมณ์ผู้เลี้ยงดู
• ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ หรือพูดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆหรือพี่น้อง
• หาทางชมเชยเด็ก แม้จะมีดีแค่หนึ่งอย่าง มีเสียสิบอย่าง เราก็ต้องใช้หนึ่งอย่างนั้นมาเป็นตัวชม เพื่อช่วยพัฒนาตัวอื่นๆ
• เวลาลูกทะเลาะักันอย่ามีอารมณ์ร่วม
• ไม่ปกป้องมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะ แก้ปัญหาไม่เป็น
• ไม่ตามใจลูกมากเกินไป หรือกังวลมากเกินไป
• ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ถูกชม
• เด็กอารมณ์ร้อนต้องทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ใจเย็น ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม
• ฝึกหัดระเบีบยวินัยควรสร้างตั้งแต่เล็กๆ เช่น 7-8 เดือน เริ่มนั่ง กับรับประทานอาหาร ดูทีวีไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
• ฝึกทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับ แต่ด้วยเหตุผล
• การดุ การลงโทษ ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไป เพราะเด็กจะต่อต้าน
• ทำใจให้เบิกบาน เปิดหูเปิดตา อย่าหมกมุ่นแต่ในบ้าน การฝึกฝนการพัฒนา AQ
• การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
• การฝึกทำกิจกรรมต่างๆ
• สัมผัสกับชีวิตจริง ให้เด็กช่วยตัวเอง หัดทำงานตามวัย
• ให้เด็กเผชิญกับอุปสรรคบ้าง
• เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มให้รู้จักช่วยงานพ่อแม่ ธุรกิจของพ่อแม่ หรือแม้แต่การรับจ้างทำงานในช่วงวัยรุ่น ฝึกหาประสบการณ์ ตามที่ต่างๆช่วงหยุดปิดเทอม
• มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น อารมณ์เด็กขึ้นกับอารมณ์ผู้เลี้ยงดู
• ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ หรือพูดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆหรือพี่น้อง
• หาทางชมเชยเด็ก แม้จะมีดีแค่หนึ่งอย่าง มีเสียสิบอย่าง เราก็ต้องใช้หนึ่งอย่างนั้นมาเป็นตัวชม เพื่อช่วยพัฒนาตัวอื่นๆ
• เวลาลูกทะเลาะักันอย่ามีอารมณ์ร่วม
• ไม่ปกป้องมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะ แก้ปัญหาไม่เป็น
• ไม่ตามใจลูกมากเกินไป หรือกังวลมากเกินไป
• ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ถูกชม
• เด็กอารมณ์ร้อนต้องทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ใจเย็น ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม
• ฝึกหัดระเบีบยวินัยควรสร้างตั้งแต่เล็กๆ เช่น 7-8 เดือน เริ่มนั่ง กับรับประทานอาหาร ดูทีวีไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
• ฝึกทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับ แต่ด้วยเหตุผล
• การดุ การลงโทษ ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไป เพราะเด็กจะต่อต้าน
• ทำใจให้เบิกบาน เปิดหูเปิดตา อย่าหมกมุ่นแต่ในบ้าน การฝึกฝนการพัฒนา AQ
• การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
• การฝึกทำกิจกรรมต่างๆ
• สัมผัสกับชีวิตจริง ให้เด็กช่วยตัวเอง หัดทำงานตามวัย
• ให้เด็กเผชิญกับอุปสรรคบ้าง
• เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มให้รู้จักช่วยงานพ่อแม่ ธุรกิจของพ่อแม่ หรือแม้แต่การรับจ้างทำงานในช่วงวัยรุ่น ฝึกหาประสบการณ์ ตามที่ต่างๆช่วงหยุดปิดเทอม
AQ=ADVERSITY QUOTIENT คือความสามารถในการแก้ปัญหา และการเผชิญกับวิกฤติ
AQ คือการวัดความสามารถ ในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ ใครที่สามารถจัดการได้ดี จะเป็นผู้นำและเจ้าของกิจการ ในโลกของปัจจุบันและอนาคต ใครที่มี AQ ดีจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส(Dr.Paul G stolt)ใครที่ไม่สามารถควบคุมAQได้ จะเป็นผู้พ่ายแพ้และเป็นได้แค่ลูกจ้างหรือตกงาน
AQ คือการวัดความสามารถ ในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ ใครที่สามารถจัดการได้ดี จะเป็นผู้นำและเจ้าของกิจการ ในโลกของปัจจุบันและอนาคต ใครที่มี AQ ดีจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส(Dr.Paul G stolt)ใครที่ไม่สามารถควบคุมAQได้ จะเป็นผู้พ่ายแพ้และเป็นได้แค่ลูกจ้างหรือตกงาน
เทคนิคการสร้าง AQ : ความสามารถในการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค เป็นกลไกของสมอง เกิดจากการฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย
หลักการสร้าง
• Control ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
• Ownership ความเป็นเจ้าของปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
• Reach คิดว่าทุกประเภทมีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
• Endurance มีความทนทานอดทนต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดี ไม่วู่วาม
• Training คือการได้รับฝึกฝนแต่เยาว์วัยในการแก้ปัญหา และเผชิญอุปสรรคตามวัยและศักยภาพ
• Control ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
• Ownership ความเป็นเจ้าของปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
• Reach คิดว่าทุกประเภทมีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
• Endurance มีความทนทานอดทนต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดี ไม่วู่วาม
• Training คือการได้รับฝึกฝนแต่เยาว์วัยในการแก้ปัญหา และเผชิญอุปสรรคตามวัยและศักยภาพ
สรุปการเพิ่ม AQ
• มีสติตลอดเวลา ใช้สติในการแก้ไข
• คิดว่าทุกอย่างมีทางออก
• มองโลกในแง่ดี
• เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส
• มีสติตลอดเวลา ใช้สติในการแก้ไข
• คิดว่าทุกอย่างมีทางออก
• มองโลกในแง่ดี
• เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส
MQ = Moral quotient จริยธรรม คุณธรรม
วิธีฝึกฝน
• มีตัวอย่างที่ดีๆให้เห็น
• ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่เล็กๆ ก่อนวัยอนุบาล อาจจะเป็นในรูปนิทาน
• วัยอนุบาล ประถมต้น เล่านิทานสอนใจ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
• ประถมปลาย มัธยม สอยหลักธรรม ตัวอย่างดี ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนด้อยโอกาส ช่วยสอนหนังสือหรือดูแลรุ่นน้องๆ ช่วยงานครู สอนเพื่อนๆที่อ่อนกว่า
• ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นทำร้ายผู้อื่น พูดจาหยาบคาย ขโมย โดยเฉพาะเด็ก 0-5 ขวบ
• ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ควรได้รับการกล่อมเกลาจิตใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฟังธรรมเป็นประจำทุกสัปดาห์
วิธีฝึกฝน
• มีตัวอย่างที่ดีๆให้เห็น
• ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่เล็กๆ ก่อนวัยอนุบาล อาจจะเป็นในรูปนิทาน
• วัยอนุบาล ประถมต้น เล่านิทานสอนใจ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
• ประถมปลาย มัธยม สอยหลักธรรม ตัวอย่างดี ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนด้อยโอกาส ช่วยสอนหนังสือหรือดูแลรุ่นน้องๆ ช่วยงานครู สอนเพื่อนๆที่อ่อนกว่า
• ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นทำร้ายผู้อื่น พูดจาหยาบคาย ขโมย โดยเฉพาะเด็ก 0-5 ขวบ
• ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ควรได้รับการกล่อมเกลาจิตใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฟังธรรมเป็นประจำทุกสัปดาห์
SQ = Social quotient ทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น มีไหวพริบ รู้เท่าทันคน
• ได้เล่นกับเพื่อนในวัยเด็กเล็กๆ
• เด็กโตได้ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือทำงานอื่นๆร่วมกับเพื่อนๆ หรือทำงานหาเงินเล็กๆน้อยๆ เพื่อหาประสบการณ์ในชีวิต
• คบเพื่อนๆที่หลากหลาย
• เรียนรู้สังคม ข่าวสารต่างๆ รอบตัว เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่ตัวเราในบางข่าว
• ได้เล่นกับเพื่อนในวัยเด็กเล็กๆ
• เด็กโตได้ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือทำงานอื่นๆร่วมกับเพื่อนๆ หรือทำงานหาเงินเล็กๆน้อยๆ เพื่อหาประสบการณ์ในชีวิต
• คบเพื่อนๆที่หลากหลาย
• เรียนรู้สังคม ข่าวสารต่างๆ รอบตัว เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่ตัวเราในบางข่าว
หมายเหตุ
IQ ส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ และปรับเปลี่ยนยาก เริ่มพัฒนาตั้งแต่ 0 - 5 ปี ส่วน EQ และ MQ ปรับเปลี่ยนได้ง่ายกว่า
และได้ทุกอายุ
และได้ทุกอายุ
วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ดนตรีเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมดนตรีที่เหมาะกับเด็ก ได้แก่ กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่นการร้องเพลง เล่นเกมประกอบเพลง และบรรเลงเครื่องดนตรีอย่างง่าย เป็นต้น เด็กจะสนุกกับกิจกรรมที่เขาได้ออกความคิด ได้เคลื่อนไหว ได้ใช้ภาษา บรรเลงเครื่องดนตรี และร้องเพลง กิจกรรมดนตรีจะเป็นพื้นฐาน ของเด็กในการที่จะพัฒนาการดนตรีของเขาให้ดีขึ้นในอนาคต
เด็กเรียนจบชั้นอนุบาลเขาควรมีความสามารถดังนี้
- ใช้เสียงร้องเพลงให้แตกต่างจากเสียงพูด
- ร้องเพลงได้ชัดเจนไม่เพี้ยน
- เขารู้จักจังหวะ เร็ว - ช้า พลังเสียง ดัง - เบา
การสอนดนตรี
การสอนดนตรี การศึกษาพัฒนาการเด็กตามองค์ประกอบสามประการของดนตรี ได้แก่ การเคลื่อนไหว การฟัง และการร้องเพลง จะช่วยให้ครูจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมแก่เด็ก การเคลื่อนไหว(Moving) เด็กเริ่มเคลื่อนไหวตั้งแต่เป็นทารก หรือแม้แต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา เดือนแรกๆ เด็กจะเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อศรีษะก่อน หลังจากนั้นจึงจะเคลื่อนไหวไหล่ แขน ลำตัว และขา การพัฒนาการเคลื่อนไหวก็เริ่มจากกล้ามเนื้อใหญ่ไปกล้ามเนื้อเล็ก การควบคุมการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่ส่วนกลางของร่างกาย แล้วขยายออกไป เด็กยกศรีษะได้ก่อนนั่ง ยืนหรือเดิน แล้วพัฒนาถึงขั้นหยิบไม้บล็อกด้วยมือทั้งมือก่อนจะสามารถหยิบด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
คุณค่าดนตรีต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ผลจากคุณค่าของเสียงดนตรีที่มีต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจของเด็ก นักจิตวิทยาสังคมต่างให้การยอมรับและได้กล่าวถึงคุณค่าของดนตรีไว้ว่า
1. ดนตรีก่อให้เกิดความสว่างแก่จิตใจ ( Enlightenment)
2. ดนตรีก่อให้เกิดความสุข ( Well - Being)
3. ดนตรีก่อให้เกิดความผูกพันรักใคร่ ( Affection)
2. ดนตรีก่อให้เกิดความสุข ( Well - Being)
3. ดนตรีก่อให้เกิดความผูกพันรักใคร่ ( Affection)
ดนตรีเป็นศาสตร์ หรือวิชาที่ทำให้เด็กระดับปฐมวัยได้รับการพัฒนาทุก ๆ ด้านของการเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจำ สังคม ค่านิยม การคิดหาเหตุผล การสร้างสรรค์ การพัฒนากล้ามเนื้อ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การพัฒนาตนเองให้เข้ากับกลุ่ม หรือสภาพแวดล้อมของสังคมต่าง ๆ ดนตรีจึงน่าจะเป็นวิชาเดียวเท่านั้นที่ทำให้เด็กสนุกสนานรื่นเริงอย่างเต็มที่ ทั้งการแสดงออกทางร่างกาย ความคิด ตลอดจนพัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์ และนอกจากนี้ ดนตรีนอกจากนี้ ดนตรียังสามารถนำไปสัมพันธ์ เชื่อมโยงหรือบูรณาการ กับวิชาการ องค์ความรู้ และกิจกรรมต่าง ๆ แก่เด็กปฐมวัยอย่างสำคัญทีเดียว ประการสำคัญดนตรีเป็นตัวจักรสำคัญที่ใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย ดังนี้
ดนตรีช่วยเสริมสร้างพัฒนาด้านสุขภาพและพลานามัยของเด็กปฐมวัย
การเล่นเครื่องดนตรีหรือการร้องเพลงของเด็กนั้น น่าจะไม่เพียงแต่นั่งร้องหรือขับร้องเท่านั้น แต่เด็กทุกคนชอบ และพอใจที่จะทำท่าทางประกอบไปด้วย เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยชอบเปลี่ยนอิริยาบทชอบการเคลื่อนไหว กระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะท่วงทำนองของเพลง ดังนั้น เพลงและดนตรีจึงสามารถใช้เป็นสิ่งเร้าเพื่อพัฒนาการเคลื่อน ไหว ทั้งการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวเพื่อดนตรี การเคลื่อนไหวเพื่อนาฎศิลป์ หรือการเต้นรำ รวมทั้งพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก ขน ขา ลำตัว นิ้วมือ และส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะ ดนตรี จะเป็นการช่วยพัฒนาให้เด็กมีร่างกายแข็งแรงและพลานามัยที่สมบูรณ์ อันจะเป็นผลเกี่ยวโยงไปสู่จุดมุ่งหมายทาง การศึกษาที่มุ่งให้เด็กพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย ให้เด็กปฐมวัยปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ - จิตใจของเด็กปฐมวัย
เพลงและดนตรีช่วยพัฒนาอารมณ์ของเด็กในแง่การให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน สดชื่น ร่าเริง บางครั้งเด็กปฐมวัยจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง อาจทำให้เด็กเกิดความขัดแย้งหรือสับสน จึงทำให้เด็กมีปัญหาในด้านอารมณ์และจิตใจดนตรีจะสามารถช่วยบรรเทาหรือปรับอารมณ์เด็กได้อย่างดี ดนตรีสามารถช่วยให้เด็กได้แสดงออกตามความต้องการความรู้สึกและความสามารถ ช่วยถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของเด็ก ช่วยให้เด็กผ่อนคลายความเครียด ดังจะเห็นได้จากการ สังเกตเวลาเด็กร้องเพลงเล่นกัน เด็กจะมีหน้าตายิ้มแย้ม เบิกบาน แม้เด็กบางคนจะมีอารมณ์หงุดหงิด แต่เมื่อได้ร้องรำทำเพลงหรือได้ฟังเพลงสักครู่ก็จะค่อยคลายความไม่สบายใจลง เพราะความไพเราะของเพลง ลีลาและท่วงทำนองเพลงจะช่วยกล่อมอารมณ์ของเด็กให้เพลิดเพลินเป็นปกติได้อย่างดี นอกจากนี้แล้ว ดนตรียังพัฒนาอารมณ์ของเด็ก เกิดความบันเทิงใจ เพลิดเพลิน เกิดจินตนาการกว้างไกล อารมณ์เยือกเย็น สุขุม รักสวยรักงาม เห็นคุณค่าของดนตรี รักในเสียงเพลง เสียงดนตรี จากการสัมผัสดนตรีอยู่ในโลกของดนตรี ไม่เกิดความเหงา เห็นเสียงเพลงเสียงดนตรีเป็นเพื่อน เด็กจะเกิดความนุ่มนวลอ่อนโยนขึ้น ไม่แข็งกระด้าง ไม่เห็นแก่ตัว มีอารมณ์สุนทรีย์ละเอียดอ่อน การพัฒนาทางอารมณ์ของเด็กจะได้รับการกล่อมเกลาไปทีละเล็กละน้อย จนมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม อันเป็นผลพวงจากดนตรีนั่นเอง
ดนตรีช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสังคมของเด็กปฐมวัย
เป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กปฐมวัยเป็นเด็กที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) เด็กจะสนใจตนเองมากกว่า ทำให้เด็กไม่ค่อยคิดถึงผู้อื่น สิ่งที่ควรแก้ไขให้รู้จักเอาใจผู้อื่น แบ่งปันสิ่งของ ร่วมเล่นกับเพื่อน รู้จักช่วยเพื่อน ๆ รู้จักใช้ถ้อยคำและกริยาอย่างเหมาะสม รู้จักรักและชื่นชมและให้อภัยต่อกัน ซึ่งสิ่งดังกล่าวสามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อ เพราะดนตรีมีส่วนช่วยโน้มน้าวให้เด็กอยากเรียน อยากเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน โดยที่ไม่ต้องมีการบังคับแต่ประการใด วิธีหนึ่งที่จะให้เด็กได้พัฒนาด้านสังคม คือ ให้เด็กได้ร่วมร้องเพลงหรือทำกิจกรรมทางดนตรี แสดงบทบาทตามดนตรี จนกระทั่งเด็กเกิดความซาบซึ้งและเห็นคุณค่า เด็กจะพยายามเลียนแบบ ทั้งนี้ ครูและผู้เกี่ยวข้องต้องคอยย้ำและเตือนอยู่เสมอ จนกระทั่งเด็กได้พัฒนาพฤติกรรมทางสังคม เด็กที่ได้รับการพัฒนาทางด้านสังคมโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ ผู้เขียนคิดว่า เด็กจะเรียนรู้ถึงความเป็นไปของสังคมใกล้ตัวและสังคมรอบข้าง เด็กจะเป็นที่รักของสมาชิกและสังคม อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สามารถปรับ
ตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ รู้จักพูดจา แสดงท่าทางเหมาะแก่กาลเทศะ ทำงานและเล่นกับผู้อื่นได้ดี ยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้ดนตรีเป็นสื่อในการพัฒนาสังคมของเด็กปฐมวัยโดยแท้
ตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ รู้จักพูดจา แสดงท่าทางเหมาะแก่กาลเทศะ ทำงานและเล่นกับผู้อื่นได้ดี ยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้ดนตรีเป็นสื่อในการพัฒนาสังคมของเด็กปฐมวัยโดยแท้
นอกจากนี้ดนตรีทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคม อันเป็นผลจากการที่เสียงดนตรีมีส่วนช่วยในการปรับสภาพอารมณ์ของเด็กให้เกิดความพึงพอใจ และความสุขสบาย ฉะนั้นการที่เด็กได้ฟังเสียงดนตรีที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เด็กจะเกิดความรู้สึกอบอุ่น มีความไว้วางใจในสิ่งแวดล้อม มีความสุขในการเรียน การทำงาน และสามารถที่จะปรับตัวในลักษณะที่เหมาะสมเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น จะสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งเด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี มีความสามัคคีร่วมมือในการทำกิจกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้เป็น อย่างดียิ่ง
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
ดนตรีจะช่วยสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และมโนคติกับเด็กในเรื่องต่าง ๆ เช่น ธรรมชาติศึกษา คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา ฯลฯ และเป็นการช่วยที่เด็กพอใจ เด็กเข้าใจและจดจำได้เอง โดยไม่ต้องมีการบังคับ เช่น บทเพลงที่เกี่ยวกับลม ฝน แมลง นก ขณะที่เด็กร้องเพลงและทำท่าเคลื่อนไหวเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ อาทิ ลีลาเลียนแบบท่าทางของสัตว์ ท่าทางของคน ลีลาเลียนแบบการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์กลไกและเครื่องเล่น ลีลา เลียนแบบปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือลีลาตามจินตนการ ซึ่งเด็กจะมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้เพิ่มขึ้น หรือในขณะที่เด็กร้องเพลงนับกระต่าย นับลูกแมว นับนิ้ว เด็กก็จะได้รับความคิดในเรื่องการเพิ่ม - ลดของจำนวน การเรียงลำดับที่ ฯลฯ ซึ่งพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยจะเจริญงอกงามโดยอาศัยกิจกรรม
ต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทางดนตรีนับเป็นกิจกรรมที่มี ความสำคัญยิ่ง
ดนตรีเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย เพราะดนตรีเป็นสิ่งเร่งที่จะช่วยจูงใจให้เด็กเกิดความสบายใจ และมีความรู้สึกในทางที่ดี ซึ่งเป็นการช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความน่าสนใจ ทำให้เด็กเกิดความตื่นตัวในการเรียนรู้ อันส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นอย่างดี
ประการสำคัญ ดนตรีจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ต่อการพัฒนาทางสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมาธิ เนื่องจากดนตรีช่วยทำให้เด็กเกิดสมาธิในการทำกิจกรรมและสามารถทำงานได้นานขึ้น ทั้งนี้เพราะเสียงดนตรี นับเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่จะช่วยปรับสภาพอารมณ์และช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดสมาธิ สามารถสร้างระเบียบและควบคุมตนเองให้เหมาะสมและไม่เกิดความเครียดจนต้องหยุดชะงักการทำงาน ในขณะที่เด็กทำกิจกรรมสร้าง สรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง เมื่อมีดนตรีเปิดเบา ๆ เด็กจะมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรมท่ามกลางบรรยากาศที่มีเสียงเพลง และมีความตั้งใจพยายามทำกิจกรรม อีกทั้งยังพบว่าระยะเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละประเภทจะยาวนานขึ้น นอกจากนี้เสียงดนตรียิ่งทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในขณะทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยดังนี้
จากการทดลองของ เลิศ อานันทนะ ( 2518 : 219) พบว่า เสียงดนตรีสามรถเสริมสร้างความคิดจินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด
ฉะนั้น ดนตรีจึงเป็นสื่อกลางของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาศักยภาพ คุณค่าทางสมองและสติปัญญา เพราะดนตรีเป็นเรื่องของโสตศิลป์ที่จะพาเด็กไปสู่การรับรู้และเรียนรู้เรื่องของศาสตร์วิทยาการ ต่าง ๆ ตลอดจนความงามอย่างมีสุนทรีย์ ในที่สุดเด็กก็มีการพัฒนาการทางสติปัญญาสูงขึ้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพนั่นเอง
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ดนตรีช่วยให้เด็กรู้จักฟังและแยกความแตกต่างของระดับเสียง สูง ต่ำ ดัง ค่อย หนัก เบา แหลม ทุ้ม รู้จักแยกอัตราจังหวะ ช้า ปานกลาง เร็ว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการฟังคำพูดที่ประกอบไปด้วยเสียงหนัก - เบา และเสียงวรรณยุกต์ทางภาษาที่แตกต่างกัน ดนตรีจะช่วยพัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ อาทิ การเขียน การพูด การอ่านออกเสียงของเด็ก เพราะในขณะที่เด็กร้องเพลง เด็กจะต้องรู้จักควบคุมการหายใจ รู้จักควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด รู้จักจังหวะ
ของคำพูด รู้จักรูปประโยคที่ถูกต้อง และเด็กจะชอบเล่นกับคำพูด ซึ่งเป็นบทคล้องจองที่อยู่ในเพลงนั้น เนื่องจากเพลงทุกเพลงจะต้องมีเนื้อร้องที่สัมผัสกัน เช่น นกเอยนกน้อยน้อย เจ้าค่อยค่อยเคลื่อนคล้อยมา คำว่าน้อยสัมผัสกับค่อย ลักษณะของคำที่คล้องจองกันเช่นนี้ ทำให้เด็กสามารถจำเพลงได้ง่ายขึ้น สิ่งต่าง ๆ ดังที่ผู้เขียนกล่าวมาจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
ของคำพูด รู้จักรูปประโยคที่ถูกต้อง และเด็กจะชอบเล่นกับคำพูด ซึ่งเป็นบทคล้องจองที่อยู่ในเพลงนั้น เนื่องจากเพลงทุกเพลงจะต้องมีเนื้อร้องที่สัมผัสกัน เช่น นกเอยนกน้อยน้อย เจ้าค่อยค่อยเคลื่อนคล้อยมา คำว่าน้อยสัมผัสกับค่อย ลักษณะของคำที่คล้องจองกันเช่นนี้ ทำให้เด็กสามารถจำเพลงได้ง่ายขึ้น สิ่งต่าง ๆ ดังที่ผู้เขียนกล่าวมาจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดีของเด็กปฐมวัย
สิ่งที่พึงปรารถนาของทุกฝ่ายและทุกสังคม คือ การให้ลูกหลานมีลักษณะนิสัยที่ดีในการที่จะปลูกฝังและส่งเสริมพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น เราสามารถใช้เพลงหรือดนตรีช่วยได้เป็นอย่างมาก ถ้าเลือกเพลงได้เหมาะสม ในปัจจุบันนี้มีบทเพลงสำหรับเด็กมากมายซึ่งมีส่วนช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีให้กับเด็ก จากการทดลองจัดทำเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ว่าด้วยเพลงเกี่ยวกับกริยามารยาท การรักษาความสะอาด เพลงเกี่ยวกับธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เพลงเกี่ยวกับการรักษาระเบียบวินัย ความสามัคคี ฯลฯ ซึ่งได้นำมาใช้สอนนักเรียนระดับปฐมวัย ปรากฏว่านักเรียนสนุกสนาน ให้ความสนใจเป็นอย่างดี เด็ก ๆ ที่ชอบทิ้งขยะไม่เป็นที่ หรือเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ ก็จะใช้เพลง “ อย่าทิ้งต้องเก็บ ” มาร้องให้เด็กฟังและสอนให้เด็กร้องตาม ปรากฎว่าเด็ก ๆ ปฏิบัติตามเพลงเป็นอย่างดี
ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาด้านระเบียบวินัยและความพร้อมเพรียงแก่เด็กปฐมวัย
ดนตรีสามารถเป็นสื่อที่จะให้เด็กรักษาระเบียบวินัยและความพร้อมเพรียง โดยวิธีนี้เป็นสิ่งที่ทำได้โดยง่าย ซึ่งจะทำให้ครู - อาจารย์ ผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องเหน็ดเหนื่อย หรือ เคี่ยวเข็ญบังคับ เช่น การใช้สัญญาณที่เป็นเสียงเพลงหรือดนตรีกับเด็กว่า ถ้าได้ยินเสียงสัญญาณนี้ทุกคนจะต้องมาเข้าแถว สัญญาณเสียงนี้ทุกคนจะต้องหยุดเล่น สัญญาณนอน สัญญาณรับประทานอาหาร สัญญาณดื่มน้ำ ฯลฯ ซึ่งอาจใช้สัญญาณเสียงที่เป็นเสียงดนตรีง่าย ๆ เช่น นกหวีดเป่าเป็นจังหวะ เสียงกลอง เสียงกรับ เสียงฉิ่ง - ฉับ เสียงกระดิ่งสั่น เป็นจังหวะหรือเสียงเพลงใดเพลงหนึ่ง ซึ่งถ้าเด็กเข้าใจและเคยชินกับสัญญาณเสียงทางดนตรีเหล่านี้ เด็กจะปฏิบัติทุกอย่างได้ดีมีความพร้อมเพรียงกัน โดยที่ครูหรือผู้อ่านเองไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการที่จะต้องคอยตะโกนบอกเด็กอยู่ทุกระยะ ฉะนั้นดนตรีจึงเป็นสื่อสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยพัฒนาระเบียบวินัย รวมถึงความพร้อมเพรียงของเด็กปฐมวัยได้อีกทางหนึ่ง
ดนตรีช่วยในการปลูกฝังความรักชาติบ้านเมืองของเด็กปฐมวัย
การปลูกฝังให้เด็กเกิดความรักชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแรกอยู่ในกิจกรรมต่าง ๆ สิ่งที่จะเป็นสื่อที่ดีที่สุด คือ การใช้เพลงหรือดนตรี ทำนองและจังหวะต่าง ๆ เป็นเครื่องช่วยกระตุ้น ส่งเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงที่มีจังหวะเร้าใจ คึกคัก สนุกสนาน มีความหมายที่เกี่ยวกับความรักชาติ ความเสียสละเพื่อชาติของวีรชนบรรพบุรุษ ตลอดจนตัวอย่างที่ดีงามของผู้เสียสละ จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กเห็นคุณค่าและความสำคัญของประเทศชาติ เห็นความสำคัญของบรรพบุรุษที่ได้ช่วยกันป้องกันประเทศชาติ สิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวปลูกฝังแทรกซึมความรักชาติบ้านเมือง ความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดต่อไปในอนาคต โดยการใช้ดนตรีเป็นสื่อนำทางได้เป็นอย่างดี
ดนตรีช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กปฐมวัย
เพลงและดนตรีจะช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาบางอย่างของเด็กปฐมวัย เช่น เด็กที่ไม่กล้าแสดงออก ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เด็กที่ขี้อาย มีความก้าวร้าว ฯลฯ เราสามารถนำกิจกรรมทางดนตรีเข้ามาช่วยปรับ หรือแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำกิจกรรมทางดนตรีมาสร้างสรรค์ บรรณาการ และประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการพัฒนาการและช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของเด็ก จากประสบการณ์ผู้เขียนคิดว่าเด็กในระดับปฐมวัยจะมีปัญหา ข้อบกพร่องและความพิการด้านต่าง ๆ แตกต่างกันไป ซึ่งปัญหาข้อบกพร่องและความพิการทุกอย่างสามารถที่จะนำกิจกรรมทางดนตรีเข้าบำบัดแก้ไขได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีความสนใจต่ำ เด็กที่มีสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด มีปัญหาเกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหว การปรับตัว ความคิดและจินตนาการ สายตา การอยู่ร่วมกัน การรักษาหรือลักษณะของต่าง ๆ ความซาบซึ้ง ความสามารถ ระดับความสมหวัง ประการที่สำคัญดนตรีสามารถนำไปใช้บำบัดการที่เด็กพิการ ทั้งด้านการพูด ตา หู ร่างกาย สมอง หรือแม้กระทั่งเด็กที่มีปัญหาหรือความบกพร่องทางอารมณ์ ซึ่งผู้ที่นำกิจกรรมทางดนตรีมาใช้เชื่อกันว่า อิทธิพลหรืออำนาจของเสียงเพลงหรือดนตรีจะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ คุณค่าและเกิดอารมณ์แก่เด็กในการที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ในตัวเด็กได้
ประการสำคัญในการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ดนตรีสามารถนำมาปรับพฤติกรรม หรือเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งนักวิชาการทางดนตรี เรียกกันว่าดนตรีบำบัด อันเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อเด็กโดยการประยุกต์กิจกรรมทางดนตรีหรือเพลงที่เลือกสรรเป็นอย่างดีมาใช้กับเด็ก โดยมุ่งที่จะให้กิจกรรมทางดนตรีเป็นตัวช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก ช่วยแก้ไขความผิดปกติ ความบกพร่องของเด็กในระหว่างที่มารับการบำบัดหรือศึกษาฟื้นฟู พัฒนาสมรรถภาพ ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจเป็นเด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีปัญหาทางการอ่าน เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่าง ๆ เด็กพิการ หรือเด็กพิเศษ ฯลฯ โดยการบำบัดด้วยดนตรีเป็นการเริ่มที่ตัวเด็กไม่ได้เริ่มจากดนตรี โดยการใช้เด็กเป็นศูนย์กลางของการบำบัด นักดนตรี นักดนตรีบำบัดจะวินิจฉัยปัญหาของเด็ก แล้วจึงวางแผนจัดกิจกรรมทางดนตรีให้สอดคล้องกับความต้องการ ความบกพร่องหรือปัญหาของเด็กแต่ละคนเป็นราย ๆ ไป การบำบัดด้วยดนตรีของเด็กพิเศษเหล่านี้ อาจทำเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เด็กมีพัฒนาการที่พึงประสงค์ สิ่งสำคัญของการบำบัดดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย จะเน้นการบำบัดดนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งจะเริ่มที่ปัญหาและสภาพข้อบกพร่อง ความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคนๆ การบำบัดด้วยดนตรีนี้มีจุดมุ่งหมายคล้ายกับการบำบัดรักษาด้วยวิธีการหรือเครื่องมืออื่นๆ โดยมุ่งที่จะใช้กิจกรรมทางดนตรีเป็นสื่อกระตุ้นหรือเร้าให้เด็กได้มีพัฒนาการ ประสบความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งยังส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมใหม่ อันเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ เป็นสิ่งปกติในชีวิตและวัยของเด็กแต่ละช่วงให้คงอยู่แลพัฒนาการต่อไป
ดนตรีเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย
วิธีการหรือสื่อหนึ่ง ที่จะมีส่วนทำให้เด็กในระดับปฐมวัยเกิดความสนใจ สนุกสนาน เห็นคุณค่าตั้งใจและติดตามการเรียนการสอนวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นสาระเนื้อหาตามแผนการจัดประสบการณ์ ทั้งกิจกรรมที่ปรากฎในตารางกิจกรรมประจำวันอันประกอบด้วย การเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมสร้างสรรค์ (ศิลปศึกษา) การเล่นตามมุม กิจกรรมในวงกลม การเล่นกลางแจ้ง เกมการศึกษา กิจกรรมที่ไม่ปรากฎในตารางกิจกรรมประจำวัน อาทิ การเล่านิทานการร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การจัดทัศนศึกษา การปฏิบัติการทดลอง การเตรียมเด็กให้สงบ ( การเก็บเด็ก) รวมทั้งแผนการจัดประสบการณ์ทั้ง 16 สัปดาห์ ในระดับปฐมวัยศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( กระทรวงศึกษาธิการ. 2536 : 335 หน้า) ซึ่งเราสามารถนำกิจกรรมดนตรี เข้าแทรกหรือบูรณาการแผนการจัดประสบการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี
การนำดนตรีมาใช้เป็นส่วนประกอบในกิจกรรมการเรียนการสอน บทประพันธ์เพลงที่มีความไพเราะ มีรูปแบบทำนองลีลาสมบูรณ์ จะให้ความซาบซึ้งและดำรงไว้ซึ่งคุณค่าทางอารมณ์ สามารถจินตนาการเป็นภาพที่มีความหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เด็กในแง่ที่จะพัฒนาจิตใจให้ละเอียดอ่อน ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เรื่องของการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนวิชาดนตรีหรือวิชาอื่น ๆ ก็ตาม การเรียนรู้ที่สมบูรณ์นั้น ควรจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันได้ในรายวิชาต่าง
ๆ ปกติคนเราจะมีพื้นฐานดนตรีประทับในใจอยู่แล้วเป็นทุน จากสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ ดังนั้น จึงสามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อเชื่อมโยงได้ โครงสร้างของวิชาดนตรีกับวิชาอื่น ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกัน จะเป็นส่วนช่วยให้สามารถจัดระบบที่เหมาะสม
ๆ ปกติคนเราจะมีพื้นฐานดนตรีประทับในใจอยู่แล้วเป็นทุน จากสิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ ดังนั้น จึงสามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อเชื่อมโยงได้ โครงสร้างของวิชาดนตรีกับวิชาอื่น ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกัน จะเป็นส่วนช่วยให้สามารถจัดระบบที่เหมาะสม
การนำกิจกรรมดนตรีมาใช้ประกอบการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เด็กเรียนด้วยความสนุกเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาที่เรียน เพราะเป็นการได้รับความรู้จากบทเรียน คละเคล้าไปกับการเล่นโดยไม่รู้ตัว และจะช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความจำของเด็กได้ดีขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ดนตรีอาจทำได้ดังนี้
1. ใช้ดนตรีเป็นเนื้อหาในการเรียนแล้วโยงไปหาวิชาอื่น ๆ เช่น ถ้าเพลงใดมีเนื้อหาที่บอกเรื่องราวต่าง ๆ สมบูรณ์ในตัว ก็นำเพลงนั้นมาให้เด็กร้องและอธิบายข้อความตามเนื้อเพลง แล้วจึงโยงไปถึงการเล่น การเล่าเรื่อง การเล่นนิทาน การฝึกทักษะด้านอื่น ๆ
2. ใช้ดนตรีเป็นส่วนประกอบให้สัมพันธ์กับบทเรียน คือ เรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วนำเพลงที่สัมพันธ์กับบทเรียนเข้ามาแทรก ซึ่งการแทรกนี้อาจทำได้หลายทาง เช่น ใช้ดนตรีเป็นการนำบทเรียน เพื่อที่จะเร้าให้เด็กเกิดความสนใจและกระตือรือร้นอยากที่จะเรียน ควรใช้เพลงที่เกี่ยวกับการให้เด็กคิดหรือให้ทาย เป็นต้นใช้ดนตรีแทรกตอนกลางบทเรียน บางครั้งบทเรียนที่ค่อนข้างยาวเกินไป อาจทำให้เด็กเบื่อและมีสมาธิสั้น อาจใช้เพลงแทรกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และเพื่อให้ เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานยิ่งขึ้น ซึ่งเพลงที่จะนำมาร้องแทรกตอนกลางของบทเรียนนี้ ควรเป็นเพลงที่เด็กร้องเป็นมาก่อน หรือเคยได้ฟังมาบ้างและเป็นเพลงที่ร้องง่าย ๆ ฉะนั้น ครูจะต้องเริ่มสอนร้องเพลงใหม่ ทำให้ความสนใจของเด็กมาอยู่ที่ดนตรีหมด โดยที่ยังสอนบทเรียนไม่จบ นอกจากนี้ การนำดนตรีมาแทรกในบทเรียนยังช่วยได้มากในกรณีที่ครูต้องการเน้นเนื้อหาให้เด็กเข้าใจ และเห็นความสำคัญยิ่งขึ้น
3. ใช้ดนตรีหรือเพลงร้องภายหลังบทเรียน ซึ่งเป็นการทบทวนบทเรียนไปด้วย เช่น เมื่อเด็กเรียนธรรมชาติศึกษาเรื่องสัตว์ต่าง ๆ ได้หัดฟังและเลียนสียงร้องของสัตว์และชนิดของสัตว์ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้ว เพื่อเป็นการทบทวนความจำให้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าสัตว์ใดร้องอย่างใด ก็นำกิจกรรมทางดนตรีมาให้เด็กร้องหรือเล่นเป็นการสรุปบทเรียนได้อีกทางหนึ่ง
การนำกิจกรรมทางดนตรีมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงรายวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา ธรรมชาติ ฯลฯ การใช้ดนตรีเข้าช่วยจะทำให้เด็กเกิดความสุกสนาน สร้างเสริมคุณค่าและพัฒนาการทางอารมณ์ สามารถอำนวยประโยชน์ในกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง
ดนตรีกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 5 ครึ่ง 6 ปี ถึง 6 ปี เด็กในช่วงวัยนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเริ่มต้นพัฒนารากฐานทางสมอง ให้มีศักยภาพสูงสุด ถือเป็นโอกาสทองที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ เพื่อให้พวกเขามีความเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มุ่งส่งเสริมให้เด็กที่มีอายุแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย เด็กอายุ 3-5 ปี ให้มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ 10 ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาและเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แก่ผู้เรียน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่เป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ดังนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
2. กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ประสานสัมพันธ์กัน
3. มีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข
4. มีคุณธรรมและจริยธรรม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะกับวัย
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม 8.อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11. มีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำกิจกรรมทางดนตรีมาสร้างสรรค์ บรรณาการและประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการพัฒนาการและช่วยแก้ ไขข้อบกพร่องของเด็ก จากประสบการณ์ผู้เขียนคิดว่าเด็กในระดับปฐมวัยจะมีปัญหา ข้อบกพร่องและความพิการด้านต่างๆแตกต่างกันไป ซึ่งข้อบกพร่องและความพิการทุกอย่างสามารถที่จะนำกิจกรรมทางดนตรีเข้ามาบำบัด แก้ไขได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีความสนใจต่ำ เด็กที่มีสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด ปัญหาทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การปรับตัว ความคิดและจินตนาการ สายตา การอยู่ร่วมกัน ความสามารถ ประการสำคัญดนตรีสามารถนำไปใช้บำบัดเด็กพิการด้านการพูด ตา หู ร่างกาย สมองหรือแม้กระทั่งเด็กที่มีปัญหาหรือความบกพร่องทางอารมณ์ ซึ่งผู้ที่นำกิจกรรมทางดนตรีมาใช้เชื่อว่าอิทธิพลหรืออำนาจของเสียงบทเพลงหรือดนตรี สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ คุณค่าและเกิดอารมณ์แก่เด็กในการที่จะแก้ปัญหาต่างๆในตัวเด็กได้
ประการสำคัญในการเรียนการสอนระดับปฐมวัย ดนตรีสามารถนำมาปรับพฤติกรรมหรือเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งนักวิชาการทางดนตรี เรียกว่า ดนตรีบำบัด อันเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อเด็ก โดยการประยุกต์กิจกรรมทางดนตรีเป็นตัวช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก ช่วยแก้ไขความผิดปกติ ความบกพร่องของเด็ก ในระหว่างการมารับการบำบัดหรือฟื้นฟู พัฒนาสมรรถภาพ ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจเป็นเด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีปัญหาทางการอ่าน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆ เด็กพิการหรือเด็กพิการซ้อน โดยการบำบัดด้วยดนตรีเป็นการเริ่มที่ตัวเด็กไม่ใช่ดนตรี โดยการใช้เด็กเป็นศูนย์กลางของการบำบัด นักดนตรี นักดนตรีบำบัด จะวินิจฉัยปัญหาของเด็ก แล้วจึงวางแผนจัดกิจกรรมทางดนตรี ให้สอดคล้องกับความต้องการ ความบกพร่องหรือปัญหาของเด็กแต่ละคนเป็นรายๆไป การบำบัดด้วยดนตรีของเด็กพิเศษเหล่านี้ อาจทำเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่พึงประสงค์ สิ่งสำคัญของการบำบัดดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย จะเป็นการบำบัดเป็นรายบุคคล ซึ่งจะเริ่มที่ปัญหาและสภาพข้อบกพร่อง ความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน การบำบัดด้วยดนตรีนี้มีจุดมุ่งหมายคล้ายกับการบัดรักษาด้วยวิธีการหรือเครื่องมืออื่นๆ โดยมุ่งที่จะใช้กิจกรรมทางดนตรี เป็นสิ่งกระตุ้นให้เด็กได้มีพัฒนาการ ประสบความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมต่างๆ ทั้งยังส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมใหม่ อันเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ เป็นสิ่งปกติในชีวิตและวัยของเด็กแต่ละชีวิตให้คงอยู่และพัฒนาการต่อไป
การนำกิจกรรมดนตรีมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาที่เรียนเพราะเป็นการได้รับความรู้จากบทเรียน คละเคล้าไปกับการเล่น โดยไม่รู้ตัว และจะช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความจำของเด็กได้ดีขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ดนตรีอาจทำได้ดังนี้
1. ใช้ดนตรีเป็นเนื้อหาในการเรียนแล้วโยงไปหาวิชาอื่นๆ เช่น ถ้าเพลงใดมีเนื้อหาที่บอกเรื่องราวต่างๆ สมบูรณ์ในตัว ก็นำเพลงนั้นมาให้เด็กร้องและอธิบายข้อความตามเนื้อเพลง แล้วจึงโยงไปถึงการเล่น การเล่าเรื่อง การเล่านิทาน การฝึกทักษะด้านต่างๆ
2. ใช้ดนตรีเป็นสื่อประกอบให้สัมพันธ์กับบทเรียน คือ เรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วนำเพลงที่สัมพันธ์กับบทเรียนเข้ามาแทรก ซึ่งการแทรกนี้อาจทำได้หลายทาง เช่น ใช้ดนตรีเป็นการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อที่จะเร้าให้เด็กเกิดความสนใจและกระตือรือร้นอยากที่จะเรียน ควรใช้เพลงที่เกี่ยวกับการให้เด็กเกิดความคิดหรือให้ทายเป็นต้น ใช้ดนตรีแทรกตอนกลางบทเรียน บางครั้งบทเรียนที่ค่อนข้างยาวเกินไป อาจทำให้เด็กเบื่อและมีสมาธิสั้น อาจใช้เพลง แทรกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ และเพื่อให้เด็กเรียนด้วยความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นครูจะต้องเริ่มสอนร้องเพลงใหม่ ทำให้ความสนใจของเด็กมาอยู่ที่ดนตรี การนำดนตรีมาแทรกในบทเรียนยังช่วยได้มากในกรณีที่ครูต้องการเน้นเนื้อหาให้เด็กเข้าใจและเกินความสำคัญยิ่งขึ้น
3. ใช้ดนตรีหรือเพลงร้องหลังบทเรียน ซึ่งเป็นการทบทวนบทเรียนไปด้วย เช่น เมื่อเด็กเรียนธรรมชาติศึกษาเรื่องสัตว์ต่างๆ ให้หัดฟังและเลียนเลียนเสียงร้องของสัตว์และชนิดของสัตว์ซึ่งแตกต่างกันไปแล้ว เพื่อเป็นการทบทวนความจำให้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าสัตว์ใดร้องอย่างไร ก็นำกิจกรรมทางดนตรีมาให้เด็กร้องหรือเล่นเป็นการสรุปบทเรียนได้อีกทางหนึ่ง
การนำกิจกรรมทางดนตรีมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อเป็นสื่อสร้างเสริมพัฒนาการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย สามารถสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยงราชวิชาต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษา สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา ธรรมชาติ ฯลฯ การใช้ดนตรีเข้าช่วยจะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน สร้างเสริมคุณค่าและพัฒนาการทางอารมณ์ สามารถอำนวยประโยชน์ในกิจกรรมการเรียนการสอนและเป็นประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อง
ความรู้และความเข้าใจทางดนตรี
ดนตรีมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนเมื่อเติบโตขึ้นถึงวัยเข้าเรียนในระหว่างที่อยู่โรงเรียน ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชาที่เรียน และ เป็นส่วนประกอบของกิจกรรมต่างๆ
ดนตรีสำหรับปฐมวัยนั้น มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากดนตรีในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพราะดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ดนตรีที่เด็กแสดงออกตามความพร้อม การรับรู้และ ความสนใจของเด็กแต่ละคน การแสดงออกของเด็กจะอาศัยสื่อบางอย่างได้แก่ เสียงร้อง อุปกรณ์เครื่องดนตรี หรือ การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งการแสดงออกทางดนตรีของเด็กจะแสดงออกหลายรูปแบบเช่น การร้องเพลง การเคลื่อนไหวตามจังหวะตามทำนอง และตามเนื้อร้องของเพลง รวมทั้งการเล่นอุปกรณ์เครื่องดนตรี และการสร้างสรรค์ทางดนตรี ครูเป็นบุคคลสำคัญและมีอิทธิพลในการช่วยเหลือเด็กให้เกิดความรักทางด้านดนตรีมีประสบการณ์ทางด้านดนตรีมีความเจริญงอกงามทางดนตรี มีการพัฒนาการทางดนตรีและมีพฤติกรรมใหม่เกิดขึ้น
อันเป็นผลจากการเรียนรู้ ซึ่งผลการเรียนรู้นี้ช่วยให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆคือ
1. มีทักษะทางด้านดนตรี
2. มีความชื่นชมและรักในดนตรี
3. มีความรู้สึกกล้าอยากทดลองสิ่งใหม่
การที่เด็กสามารถพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านดนตรี ขึ้นอยู่กับ สติปัญญา อารมณ์ และ วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกันไป ครูต้องนำกระบวนการเรียนรู้มาใช้ คือ
1. ครูควรเสริมแรงให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจเมื่อเด็กประสบความสำเร็จทางดนตรี เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในการกระทำครั้ง ต่อไป
2. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแสดงอารมณ์ผ่านทางเสียงดนตรี และ เพลง ให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
3. ครูควรใช้เทคนิคการสอนแบบต่างๆ และนำอุปกรณ์สร้างสรรค์ต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นชัก และอุปกรณ์ดนตรีหลากหลายมาใช้เป็นตัวช่วยให้
เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีมากขึ้น
วุฒิภาวะของเด็ก
ในการจัดการเรียนการสอนดนตรีแก่เด็กสิ่งที่สำคัญที่ครูต้องคำนึงถึงคือวุฒิภาวะของเด็กด้านต่างๆ คือ
1. ด้านร่างกาย
2. ด้านอารมณ์
3. ด้านสังคม
4. ด้านสติปัญญา
ดังนั้นดนตรีเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของเด็กให้มีการพัฒนาทั้ง 4 ด้านดีขึ้น
รูปแบบของกิจกรรมดนตรีที่ผู้ปกครอง ครู ควรจัดให้เด็กได้มีโอกาสปฏิบัติ คือ
1. ประสบการณ์ด้านการฟังเพลงให้เด็กได้มีโอกาสฟังเพลงรอบๆตัว อย่าให้ดังไปหรือเบาไป เช่น การตักน้ำ เปิดขวด เทน้ำลงถัง เป็นต้น
2. ประสบการณ์ด้านการร้องเพลง ทำให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดเจตคติที่ดีต่อดนตรี เพลงที่เด็กฟังต้องมีการเชิญชวนไม่กดดัน และเด็กมีส่วนร่วม
3. ประสบการณ์ด้านการเคลื่อนไหวและจังหวะต้องค่อยๆสอนให้เด็กรู้จังหวะ การเคาะจังหวะช้า,เร็ว การเดินประกอบจังหวะช้า,เร็ว
4. ประสบการณ์ด้านการดนตรี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สอนในห้องเรียนและสอนตัวต่อตัว
5. ประสบการณ์ด้านการสร้างสรรค์ดนตรี สำรวจเสียงในห้องเรียน เปรียบเทียบเครื่องดนตรี
6. ประสบการณ์ด้านการอ่านสัญลักษณ์ทางดนตรีหรือโน้ตเพลง กิจกรรมไม่ต้องชี้ให้จำแต่สอนไปเรื่อยๆประมาณ 7-8 ครั้ง เด็กจะจำจังหวะและ ตัวโน๊ตได้
หลักการสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย ควรครอบคลุมถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ครูควรสอนเพลงที่หลากหลายแก่เด็กเพลงที่มีความหมายที่ดีเช่นเพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงชาติ
2. ครูควรสอนเด็กๆให้รู้จักจังหวะที่ถูกต้อง เช่น ช้า, เร็ว , ปรบมือ, เคาะจังหวะ
3. ให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในลักษณะผู้นำ - ผู้ตาม
4. เด็กเข้าใจลักษณะองค์ประกอบดนตรี ทำนอง
5. เด็กสามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำ
6. เด็กมีประสบการณ์สร้างสรรค์ดนตรีมากที่สุด
7. เด็กมีความสุขในการเรียนดนตรี
ดนตรีสำหรับปฐมวัยนั้น มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากดนตรีในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพราะดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ดนตรีที่เด็กแสดงออกตามความพร้อม การรับรู้และ ความสนใจของเด็กแต่ละคน การแสดงออกของเด็กจะอาศัยสื่อบางอย่างได้แก่ เสียงร้อง อุปกรณ์เครื่องดนตรี หรือ การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งการแสดงออกทางดนตรีของเด็กจะแสดงออกหลายรูปแบบเช่น การร้องเพลง การเคลื่อนไหวตามจังหวะตามทำนอง และตามเนื้อร้องของเพลง รวมทั้งการเล่นอุปกรณ์เครื่องดนตรี และการสร้างสรรค์ทางดนตรี ครูเป็นบุคคลสำคัญและมีอิทธิพลในการช่วยเหลือเด็กให้เกิดความรักทางด้านดนตรีมีประสบการณ์ทางด้านดนตรีมีความเจริญงอกงามทางดนตรี มีการพัฒนาการทางดนตรีและมีพฤติกรรมใหม่เกิดขึ้น
อันเป็นผลจากการเรียนรู้ ซึ่งผลการเรียนรู้นี้ช่วยให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆคือ
1. มีทักษะทางด้านดนตรี
2. มีความชื่นชมและรักในดนตรี
3. มีความรู้สึกกล้าอยากทดลองสิ่งใหม่
การที่เด็กสามารถพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านดนตรี ขึ้นอยู่กับ สติปัญญา อารมณ์ และ วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกันไป ครูต้องนำกระบวนการเรียนรู้มาใช้ คือ
1. ครูควรเสริมแรงให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจเมื่อเด็กประสบความสำเร็จทางดนตรี เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในการกระทำครั้ง ต่อไป
2. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแสดงอารมณ์ผ่านทางเสียงดนตรี และ เพลง ให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
3. ครูควรใช้เทคนิคการสอนแบบต่างๆ และนำอุปกรณ์สร้างสรรค์ต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นชัก และอุปกรณ์ดนตรีหลากหลายมาใช้เป็นตัวช่วยให้
เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีมากขึ้น
วุฒิภาวะของเด็ก
ในการจัดการเรียนการสอนดนตรีแก่เด็กสิ่งที่สำคัญที่ครูต้องคำนึงถึงคือวุฒิภาวะของเด็กด้านต่างๆ คือ
1. ด้านร่างกาย
2. ด้านอารมณ์
3. ด้านสังคม
4. ด้านสติปัญญา
ดังนั้นดนตรีเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของเด็กให้มีการพัฒนาทั้ง 4 ด้านดีขึ้น
รูปแบบของกิจกรรมดนตรีที่ผู้ปกครอง ครู ควรจัดให้เด็กได้มีโอกาสปฏิบัติ คือ
1. ประสบการณ์ด้านการฟังเพลงให้เด็กได้มีโอกาสฟังเพลงรอบๆตัว อย่าให้ดังไปหรือเบาไป เช่น การตักน้ำ เปิดขวด เทน้ำลงถัง เป็นต้น
2. ประสบการณ์ด้านการร้องเพลง ทำให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดเจตคติที่ดีต่อดนตรี เพลงที่เด็กฟังต้องมีการเชิญชวนไม่กดดัน และเด็กมีส่วนร่วม
3. ประสบการณ์ด้านการเคลื่อนไหวและจังหวะต้องค่อยๆสอนให้เด็กรู้จังหวะ การเคาะจังหวะช้า,เร็ว การเดินประกอบจังหวะช้า,เร็ว
4. ประสบการณ์ด้านการดนตรี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สอนในห้องเรียนและสอนตัวต่อตัว
5. ประสบการณ์ด้านการสร้างสรรค์ดนตรี สำรวจเสียงในห้องเรียน เปรียบเทียบเครื่องดนตรี
6. ประสบการณ์ด้านการอ่านสัญลักษณ์ทางดนตรีหรือโน้ตเพลง กิจกรรมไม่ต้องชี้ให้จำแต่สอนไปเรื่อยๆประมาณ 7-8 ครั้ง เด็กจะจำจังหวะและ ตัวโน๊ตได้
หลักการสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย ควรครอบคลุมถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ครูควรสอนเพลงที่หลากหลายแก่เด็กเพลงที่มีความหมายที่ดีเช่นเพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงชาติ
2. ครูควรสอนเด็กๆให้รู้จักจังหวะที่ถูกต้อง เช่น ช้า, เร็ว , ปรบมือ, เคาะจังหวะ
3. ให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในลักษณะผู้นำ - ผู้ตาม
4. เด็กเข้าใจลักษณะองค์ประกอบดนตรี ทำนอง
5. เด็กสามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำ
6. เด็กมีประสบการณ์สร้างสรรค์ดนตรีมากที่สุด
7. เด็กมีความสุขในการเรียนดนตรี
การปลูกฝังทัศนคติดนตรีกับเด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรมดนตรีในระดับปฐมวัยนั้น ตัวเด็กเองจะได้พัฒนาทางทัศนคติที่ดีควบคู่ไปด้วย และกระบวนการเรียนการสอน เมื่อเด็กเริ่มการเรียนรู้สาระดนตรี เด็กจะเริ่มสะสมประสบการณ์ต่างๆ รวมทั้งทัศนคติซึ่งเป็นเรื่องทางจิตใจ ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ผู้สอนควรมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนและจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่พึงพอใจเพื่อเด็กเกิดความสนใจ ความชอบ ความรักในดนตรี สำหลับเด็กวัยนี้ควรปลูกฝังทัศนคติที่จัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มเรียนดนตรี ถ้าเด็กมีทัศนคติต่อดนตรีแล้ว ในการศึกษาดนตรีต่อๆไป เด็กย่อมจะมีความสนใจอยากศึกษาด้านสาระดนตรี ดังนั้นครูผู้สอนจึงพยายามทำให้เด็กเพลิดเพลิน สนุกสนานไปกับดนตรีเสมอ
การจัดกิจกรรมดนตรีในระดับปฐมวัยนั้น ตัวเด็กเองจะได้พัฒนาทางทัศนคติที่ดีควบคู่ไปด้วย และกระบวนการเรียนการสอน เมื่อเด็กเริ่มการเรียนรู้สาระดนตรี เด็กจะเริ่มสะสมประสบการณ์ต่างๆ รวมทั้งทัศนคติซึ่งเป็นเรื่องทางจิตใจ ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ผู้สอนควรมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนและจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่พึงพอใจเพื่อเด็กเกิดความสนใจ ความชอบ ความรักในดนตรี สำหลับเด็กวัยนี้ควรปลูกฝังทัศนคติที่จัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มเรียนดนตรี ถ้าเด็กมีทัศนคติต่อดนตรีแล้ว ในการศึกษาดนตรีต่อๆไป เด็กย่อมจะมีความสนใจอยากศึกษาด้านสาระดนตรี ดังนั้นครูผู้สอนจึงพยายามทำให้เด็กเพลิดเพลิน สนุกสนานไปกับดนตรีเสมอ
การพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning)
สำหรับเด็กปฐมวัย
ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ แรกเกิดถึง 7 ปี หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่ ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ
สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง 2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ
การทำงานของสมอง
สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่ หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์
สมองประกอบด้วย เซลล์สมองจำนวนกว่า 1 แสนล้านเซลล์ ลักษณะของเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นเส้นใยสมองแตกแขนงออกมามากมายเป็นพัน ๆ เส้นใยและเชื่อมโยงต่อกับเซลล์สมองอื่น ๆ เส้นใยสมองเหล่านี้เรียกว่า แอกซอน (Axon)และเดนไดรท์ (Dendrite)จุดเชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า ซีนแนปส์ (Synapses)เส้นใยสมองแอกซอนทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระแสประสาทไปยังเซลล์สมองที่อยู่ถัดไป ซึ่งเซลล์สมองบางตัวอาจมีเส้นใยสมองแอกซอนสั้นเพื่อติดต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ชิดกัน แต่บางตัวก็มีเส้นใยสมองแอกซอนยาวเพื่อเชื่อมต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ห่างออกไป ส่วนเส้นใยสมองเดนไดรท์เป็นเส้นใยสมองที่ยื่นออกไป อีกทางหนึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณกระแสประสาทจากเซลล์สมองข้างเคียงเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อกับเซลล์สมองตัวอื่น ๆ เซลล์สมองและเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีจุดเชื่อมต่อหรือซีนแนปส์(Synapses)เชื่อมโยงติดต่อถึงกันเปรียบเสมือนกับการเชื่อมโยงติดต่อกันของสายโทรศัพท์ตามเมืองต่าง ๆ นั้นเอง
จากการทำงานของเซลล์สมองในส่วนต่าง ๆ ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลรอบตัวและสร้างความรู้ขึ้นมาได้นั้นคือ เกิดการคิด กระบวนการคิด และความคิดขึ้นในสมอง หลังเกิดความคิดก็มีการคิดค้นและมีผลผลิตเกิดขึ้น ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยไปเพิ่มขนาดของเซลล์สมองจำนวนเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง สมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา 10 ปีแรก ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
สมองมีหลายส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันแต่ทำงานประสานกัน เช่นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ และรับรู้การเคลื่อนไหว สี รูปร่างเป็นต้น หลายส่วนทำหน้าที่ประสานกันเพื่อรับรู้เหตุการณ์หนึ่ง เช่น การมองเห็นลูกเทนนิสลอยเข้ามา สมองส่วนที่รับรู้การเคลื่อนไหว สี และรูปร่าง สมองจะอยู่ในตำแหน่งแยกห่างจากกันในสมองแต่สมองทำงานร่วมกันเพื่อให้เรามองเห็นภาพได้ จากนั้นสมองหลายส่วนทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงให้เราเรียนรู้และคิดว่าคืออะไร เป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สมองสามารถเรียนรู้กับสถานการณ์หลาย ๆ แบบพร้อม ๆ กันโดยการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น สมองสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกันได้ การทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะระบบการทำงานของสมองที่ซับซ้อน มีหลายชั้นหลายระดับ และทำงานเชื่อมโยงกันเนื่องจากมีเครือข่ายในสมองเชื่อมโยงเซลล์สมองถึงกันหมด เครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้เมื่อถูกสร้างขึ้นแล้ว ดูเหมือนว่าจะอยู่ไปอีกนานไม่มีสิ้นสุด ช่วยให้สมองสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งในส่วนย่อยและส่วนรวม สามารถคิดค้นหาความหมาย คิดหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ของการเรียนรู้และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ออกมาได้อีกด้วย
นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้ เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเช่นเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว เครียด บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข คับข้องใจ ครูอารมณ์เสีย ครูอารมณ์ไม่สม่ำเสมอเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ครูดุ ขณะที่เด็กเกิดความเครียด สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เรียกว่า คอร์ติโซล (Cortisol) จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความฉลาด กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้ ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้ แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต
การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมองและการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา สมองซีกซ้ายควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ ในขณะที่สมองซีกขวาเป็นด้านศิลปะ จินตนาการ ดนตรี ระยะ/มิติ หากครูสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความสามารถของการใช้สมองทั้งสองซีกเข้าด้วยกันให้สมองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกันและกัน ผู้เรียนจะสามารถสร้างผลงานได้ดีเยี่ยม เป็นผลงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลผสมผสานในผลงานชิ้นเดียวกัน
หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงการเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้
1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ หรือพวกนักกีฬาต่างๆ
2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง การอ่านและการเขียน เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น
3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เรียนรู้ขนาด ปริมาณ การเพิ่มขึ้นลดลง การใช้ตัวเลข
4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ ขนาดตำแหน่ง และการมองเห็น สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
5. ดนตรีและจังหวะ ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี
6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา
7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม
8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
กระบวนการจัดการเรียนรู้
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ ลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นแบบเปิดกว้าง จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลายโดยให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจหรือให้เด็กได้แสดงออกในแนวทางที่เขาสนใจ เรียนรู้แบบปฏิบัติจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสกระทำกับวัตถุด้วยความอยากรู้อยากเห็น ได้ทดลองสร้างสิ่งใหม่ๆ เด็กเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เด็กได้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลุ่มเล็กๆ และเป็นรายบุคคล การให้เด็กได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นทำให้เด็กได้ตรวจสอบความคิดของตน แต่เมื่อมีปัญหาเด็กต้องการคำแนะนำจากผู้ใหญ่ ควรให้เด็กได้เรียนรู้แบบบูรณาการซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง มีการเชื่อมโยงหลากหลายสาขาวิชา บทบาทของครูเป็นผู้ให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการและให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม
ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
1. ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน
การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ
“ ฉันฟัง ฉันลืม
ฉันเห็น ฉันจำได้
ฉันได้ทำ ฉันเข้าใจ”
2. ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข ไม่ให้เครียด
3. ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ และพยายามเข้าใจเขา
สารอาหารบำรุงสมอง
อาหาร 5 หมู่มีส่วนบำรุงสมองทั้งสิ้น โดยเฉพาะทารกในครรภ์ อาหารจะเข้าไปช่วยสร้างเซลล์สมอง เมื่อคลอดออกมาแม่ต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เช่นเดิม เมื่อลูกโตขึ้นปริมาณของน้ำนมของแม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงต้องให้อาหารเสริม ถ้าขาดสารอาหารเซลล์สมองจะเติบโตช้าและมีจำนวนน้อยลง เส้นใยประสาทมีการสร้างไม่ต่อเนื่อง
ตับและไข่ เด็กปฐมวัยต้องการธาตุเหล็กจากตับหรือไข่ ถ้าเด็กไม่กินตับหรือไข่ และหรือกินในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้ความจำและสมาธิด้อยลง
ปลา สารจากเนื้อปลาและน้ำมันปลามีส่วยสำคัญต่อการพัฒนาความจำและการเรียนรู้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดร์ ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงสัมพันธ์เรื่องราวที่เรียนรู้จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง อธิบายได้ว่าทำให้เด็กเข้าเรื่องที่เรียนรู้ได้ง่ายและเร็ว
ควรให้เด็กรับประทานเนื้อปลาทุกวันหรือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะเนื้อปลาทะเลเช่น ปลาทู ปลากระพง และปลาตาเดียว เป็นต้น
ผักและผลไม้ ผักที่มีสีเขียว เหลืองหรือแดง อาหารเหล่านี้ให้วิตามินซี เพื่อนำไปสร้างเซลล์เยื่อบุต่างๆทั่วทั้งร่างกายและวิตามินเอทำให้เซลล์ประสาทตาทำงานได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการพัฒนาสมอง
วิตามินและเกลือแร่ ช่วยในการทำงานของเชลล์ในการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน ถ้าขาดจะทำให้เชลล์สมองมีการทำงานลดลงและเชื่องช้าจะกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก
ปลา ไก่ หมู นมและอาหารทะเล อาหารเหล่านี้มีแร่ธาตุต่างๆเช่น เหล็ก ทองแดง แมกนีเซี่ยม สังกะสี ฟอสฟอรัสและไอโอดีน มีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง
ผักตระกูลกะหล่ำ(ทำให้สุก) ข้าวสาลี และน้ำนมแม่ สามารถไปยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่อาจจะทำลายเซลล์สมองได้
การพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็ก ขึ้นกับ อาหาร พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมต่างๆ และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมีโอกาสได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ให้เด็กมีโอกาสคิดในหลากหลายแบบเช่น คิดแสวงหาความรู้ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดกว้าง คิดไกล คิดเชิงอนาคต คิดนอกกรอบ ผู้ปกครองหรือครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกการคิดอย่างเหมาะสมกับวัย และมีความสุขในขณะที่ฝึก สมองจึงจะพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)