วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                               
        พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกเติบโตเป็นคนดี ฉลาด มีความสุขประสบความสำเร็จในการศึกษาและหน้าที่การงาน เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งการที่บุคคลจะประสบความสำเร๊จในชีวิตนั้น นอกจากจะมีความฉลาดทางเชาว์ปัญญาหรือ IQ ยังต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ด้วย
      ปัจจุบันพ่อแม่จำนวนมากที่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับ IQ EQ หรือมีอื่นๆ เช่น IQ,EQ,AQ,MQ,SQ
    IQ = Inteligence quotient หมายถึงความฉลาดทางสติปัญญา วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90-100 เป็นการวัดความสามารถทางคิด วิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่านเขียน คำนวณ แต่ไม่ได้วัดด้านอื่นๆเช่น ความคิดสร้างสรรค์ ,ทักษะต่างๆในการทำงาน, ทักษะชีวิตประจำวันฯลฯ
การพัฒนา IQ  
         • 50% จากกรรมพันธุ์
         • 50% จากสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู ความรักความอบอุ่น เพราะฉนั้นต้องมีเวลาให้ลูกหลาน       อาหารครบห้าหมู่โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามินบี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน, ประสบการณ์ต่างๆ เช่นจากการเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงาน การทำงานศิลปะ ดนตรี กีฬาที่ชื่นชอบ ,     ได้ฟังนิทาน(วัยเด็กเล็ก) , มองเห็นคุณค่าตนเอง, สัมผัสกับสังคม ชิวิตประจำวัน , อารมณ์ดี ไม่เครียด , ออกกำลังกายอย่าน้อย 30 นาทีต่อวัน จะช่วยให้มีสมาธิ สดชื่น คิดอะไรได้เร็ว อดทน ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดยาเสพติด
ความคิดในทางบวก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ จากการที่ได้รับคำชมเชยเสมอ ได้รับการยอมรับการกระทำต่างๆที่ดี
EQ = Emotional quotient คือความฉลาดทางอารมณ์         การพัฒนา EQ คือ
• รู้อารมณ์ของตนเอง
• เข้าใจอารมณ์ของผู้อิ่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมตตาอารี ช่วยเหลือผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
 • ควบคุมอารมณืของตนเองได้ ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่อารมณ์ค้างนาน ไม่ให้ความรู้สึกเก่ามารบกวน การทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่ารัก โกรธ หรือซึมเศร้าโกรธแล้วไม่ผูกใจเจ็บนาน ใจเย็นเมื่อมีสถานการณ์ยั่วยุ จะเป็นคนที่น่านับถือ และจะมีคนกล้าให้คำแนะนำ
                                         • มีระเบียบวินัยในตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่น
                                         • ขยันหมั่นเพียร อดทน กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา มุ่งมั่นแน่วแน่ไม่ลดละ
วิธีฝึกการพัฒนา EQ
  • มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น อารมณ์เด็กขึ้นกับอารมณ์ผู้เลี้ยงดู
  • ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ หรือพูดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆหรือพี่น้อง
  • หาทางชมเชยเด็ก แม้จะมีดีแค่หนึ่งอย่าง มีเสียสิบอย่าง เราก็ต้องใช้หนึ่งอย่างนั้นมาเป็นตัวชม เพื่อช่วยพัฒนาตัวอื่นๆ
  • เวลาลูกทะเลาะักันอย่ามีอารมณ์ร่วม
  • ไม่ปกป้องมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะ แก้ปัญหาไม่เป็น
  • ไม่ตามใจลูกมากเกินไป หรือกังวลมากเกินไป
  • ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ถูกชม
  • เด็กอารมณ์ร้อนต้องทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ใจเย็น ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม
  • ฝึกหัดระเบีบยวินัยควรสร้างตั้งแต่เล็กๆ เช่น 7-8 เดือน เริ่มนั่ง กับรับประทานอาหาร ดูทีวีไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
  • ฝึกทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับ แต่ด้วยเหตุผล
  • การดุ การลงโทษ ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไป เพราะเด็กจะต่อต้าน
  • ทำใจให้เบิกบาน เปิดหูเปิดตา อย่าหมกมุ่นแต่ในบ้าน
 การฝึกฝนการพัฒนา AQ
  • การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
  • การฝึกทำกิจกรรมต่างๆ
  • สัมผัสกับชีวิตจริง ให้เด็กช่วยตัวเอง หัดทำงานตามวัย
  • ให้เด็กเผชิญกับอุปสรรคบ้าง
  • เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มให้รู้จักช่วยงานพ่อแม่ ธุรกิจของพ่อแม่ หรือแม้แต่การรับจ้างทำงานในช่วงวัยรุ่น ฝึกหาประสบการณ์ ตามที่ต่างๆช่วงหยุดปิดเทอม
AQ=ADVERSITY QUOTIENT คือความสามารถในการแก้ปัญหา และการเผชิญกับวิกฤติ
AQ คือการวัดความสามารถ ในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ ใครที่สามารถจัดการได้ดี จะเป็นผู้นำและเจ้าของกิจการ ในโลกของปัจจุบันและอนาคต ใครที่มี AQ ดีจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส(Dr.Paul G stolt)ใครที่ไม่สามารถควบคุมAQได้ จะเป็นผู้พ่ายแพ้และเป็นได้แค่ลูกจ้างหรือตกงาน  

 เทคนิคการสร้าง AQ : ความสามารถในการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค เป็นกลไกของสมอง เกิดจากการฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย



    หลักการสร้าง
  • Control ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
  • Ownership ความเป็นเจ้าของปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
  • Reach คิดว่าทุกประเภทมีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
  • Endurance มีความทนทานอดทนต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดี ไม่วู่วาม
  • Training คือการได้รับฝึกฝนแต่เยาว์วัยในการแก้ปัญหา และเผชิญอุปสรรคตามวัยและศักยภาพ
      สรุปการเพิ่ม AQ
  • มีสติตลอดเวลา ใช้สติในการแก้ไข
  • คิดว่าทุกอย่างมีทางออก
  • มองโลกในแง่ดี
  • เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส

MQ = Moral quotient จริยธรรม คุณธรรม
      วิธีฝึกฝน
  • มีตัวอย่างที่ดีๆให้เห็น
  • ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่เล็กๆ ก่อนวัยอนุบาล อาจจะเป็นในรูปนิทาน
  • วัยอนุบาล ประถมต้น เล่านิทานสอนใจ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
  • ประถมปลาย มัธยม สอยหลักธรรม ตัวอย่างดี ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนด้อยโอกาส ช่วยสอนหนังสือหรือดูแลรุ่นน้องๆ ช่วยงานครู สอนเพื่อนๆที่อ่อนกว่า
  • ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นทำร้ายผู้อื่น พูดจาหยาบคาย ขโมย โดยเฉพาะเด็ก 0-5 ขวบ
  • ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ควรได้รับการกล่อมเกลาจิตใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฟังธรรมเป็นประจำทุกสัปดาห์
    SQ = Social quotient ทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น มีไหวพริบ รู้เท่าทันคน
  • ได้เล่นกับเพื่อนในวัยเด็กเล็กๆ
  • เด็กโตได้ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือทำงานอื่นๆร่วมกับเพื่อนๆ หรือทำงานหาเงินเล็กๆน้อยๆ เพื่อหาประสบการณ์ในชีวิต
  • คบเพื่อนๆที่หลากหลาย
  • เรียนรู้สังคม ข่าวสารต่างๆ รอบตัว เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่ตัวเราในบางข่าว
 
    หมายเหตุ
    IQ ส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ และปรับเปลี่ยนยาก เริ่มพัฒนาตั้งแต่ 0 - 5 ปี ส่วน EQ และ MQ ปรับเปลี่ยนได้ง่ายกว่า
และได้ทุกอายุ

          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น