วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เสริมสร้างคุณลักษณะที่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย

เสริมสร้างคุณลักษณะที่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย


ตายแล้ว …. !!!
เสียงร้องอุทานของคุณแม่วัย 22 ปี ที่เข้าร่วมกิจกรรมเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับครอบครัวอื่น ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากประเด็นหัวข้อ “ลูกดื้อ ซน เอาแต่ใจ ทำอย่างไรดี?” เป็นความตกใจของคุณแม่ซึ่งคาดไม่ถึงกับวิธีการเลี้ยงดูลูก ที่เป็นการสร้างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้แก่เด็ก โดยการปล่อยให้ลูกดูแผ่นซีดีตลกซ้ำ ๆ ที่มีคำด่าและคำพูดหยาบคาย ไม่เหมาะกับวัยของเด็ก รวมถึงการปล่อยให้ลูกเล่นเกมจากโทรศัพท์มือถือ จนทำให้เด็กติดเกม โดยคิดไม่ถึงว่าจะส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของลูก

กระบวนการเรียนรู้ในหัวข้อเรื่องดังกล่าว มาจากการสะท้อนปัญหาการเลี้ยงลูกของครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัย 2-4 ปี ซึ่งพบว่าเด็กมักจะมีพฤติกรรมที่ต่อต้าน ดื้อ ซน และเอาแต่ใจตนเอง เมื่อเด็กไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการก็จะมีการแสดงพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ปกครองรู้สึกหงุดหงิดอารมณ์เสีย จากที่ต้องยอมตามใจเพื่อตัดความรำคาญในครั้งแรก ก็มักจะมีครั้งที่สอง..สาม ตามมาโดยตลอด และถ้าเมื่อใดสิ่งที่เด็กเคยได้แล้วไม่ได้ พฤติกรรมการเรียกร้องก็จะถูกพัฒนาให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากยืนร้องไห้นิ่ง ๆ ก็จะกลายเป็นส่งเสียงร้องกรี๊ด กระทืบเท้า ด่าและตีพ่อแม่ หรือแม้กระทั่งลงนอนดิ้นพราด ๆ ให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถ้าผู้ใหญ่ไม่อดทนพอ ก็จะเกิดการปะทะอารมณ์กันขึ้น ถึงขั้นลงไม้ลงมือกันเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็จะกลายเป็นความรุนแรงของพ่อแม่ที่ปฏิบัติต่อลูก ถ้าพ่อแม่มีความรู้และเข้าใจในเรื่องพัฒนาการตามวัยของลูก ก็จะพบว่าการจัดการและรับมือกับพฤติกรรมของลูกไม่ใช่เรื่องยากเลย


พฤติกรรม ซน ดื้อ ก้าวร้าว ถือเป็นพัฒนาการปกติของเด็กช่วงปฐมวัย เพราะธรรมชาติของเด็กวัยนี้ เป็นวัยชอบสำรวจ อยากรู้อยากเห็น เด็กมีพัฒนาการเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาการด้านสังคม มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เด็กอาจโมโหและอาละวาดได้ง่าย เพราะยังขาดการควบคุมอารมณ์ตนเอง ซึ่งอาจเป็นเพราะเด็กบางคนมีพื้นอารมณ์ที่เลี้ยงยาก และปัญหาพฤติกรรมที่มีผลมาจากการเลี้ยงดู เช่น การทอดทิ้งไม่เอาใจใส่ดูแลเด็ก การลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง การตามใจและยอมตามเด็กเสมอ การทะเลาะกันภายในครอบครัว การยั่วยุอารมณ์ให้เด็กโกรธ การไม่ถูกฝึกระเบียบวินัยในชีวิตประจำวัน หรือเด็กทำผิดแล้วผู้ใหญ่ให้ท้าย รวมถึงสื่อต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงเรื่องความรุนแรง รวมถึงการใช้อาวุธต่าง ๆ ตลอดจนชุมชนที่มีการใช้ความก้าวร้าว รุนแรง ให้เด็กเห็นอยู่เสมอ

การจัดกิจกรรมสร้างพื้นที่เรียนรู้สำหรับครอบครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก็เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กในการเสริมสร้างพัฒนาคุณลักษณะที่เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง ซึ่งได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกสลุง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคันนาหิน องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสานรัก 1 (บ้านท่างาม) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกเครือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอุ่มเม่า องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งครอบครัวได้นำเสนอปัญหาเพื่อเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และได้รับคำแนะนำวิธีจัดการปัญหาการเลี้ยงลูก ดังนี้

ปัญหาลูกดื้อ เอาแต่ใจตนเอง เจ้าอารมณ์ การเลี้ยงดูลูกของครอบครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งอยู่ในช่วงปฐมวัย เกิดจากการที่พ่อแม่รู้สึกหนักใจและไม่สามารถจัดการพฤติกรรมของลูกที่เป็นเด็กซน ดื้อ เอาแต่ใจตนเอง เจ้าอารมณ์ ไม่เชื่อฟัง และแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควร เช่น เมื่อต้องการเรียกร้องหรืออยากได้ขนม หรือของเล่น ของใช้ ถ้าไม่ได้รับการตอบสนอง ก็จะอาละวาด ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่ใช้วิธีจัดการลูกด้วยการตี เพื่อหยุดพฤติกรรม ซึ่งวิทยากรก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของเด็กว่า พ่อแม่ควรนิ่งเฉยขณะที่เด็กกำลังโกรธและอาละวาด จนเมื่อเด็กสงบลง จึงใช้การพูดคุยให้เหตุผล ใช้ความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ เป็นพื้นฐานสำคัญ ในขณะเดียวกันก็ควรมีการสร้างสายสัมพันธ์ สร้างสายใยที่ดีกับลูกเพื่อเป็นวัคซีนใจให้กับเด็ก ๆ เมื่อเด็กโตขึ้นเกิดปัญหาที่เขาไม่สามารถหาทางแก้ไขเองได้ เด็กจะกล้าที่จะพูดคุยกับพ่อแม่ เพราะมีพ่อแม่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ

ปัญหาการไม่เท่าทันต่อสื่อและเทคโนโลยี การเลี้ยงดูเด็กที่เกิดจากความไม่รู้ของผู้ปกครอง และมีผลให้เด็กเกิดการเลียนแบบ คือการปล่อยให้ลูกหลานอยู่กับสื่อโทรทัศน์ เกม คอมพิวเตอร์ มากเกินไป ทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง ทำให้เด็กขาดทักษะทางสังคม และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเด็กในวัย 0-5 ปี เป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนา อยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้ จึงไม่ควรให้เด็กอยู่กับสื่อมากเกินไป ควรมีข้อตกลงกับเด็กในการกำหนดระยะเวลาในการดูโทรทัศน์ หรือหากิจกรรมอื่นมาให้เด็กทำร่วมกับคนในครอบครัว เช่น ทำงานบ้าน หรืออ่านนิทานด้วยกัน

ปัญหาการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว พูดจาไม่ไพเราะ และพูดคำหยาบ เวลาที่เด็กโกรธหรือไม่ได้ดั่งใจ ผู้ปกครองได้รับคำแนะนำในการแก้ไข โดยใช้การพูดคุยอธิบายถึงความไม่เหมาะสมให้เด็กได้รู้ ไม่ควรตำหนิดุว่าเด็ก เพราะคำบางคำเด็กไม่ได้รู้ความหมายแต่เป็นการจำจากคนอื่นแล้วนำมาใช้ เป็นการพูดเลียนแบบของเด็ก ถ้าหากเราตำหนิโดยไม่อธิบาย เด็กอาจจะไม่ใช้คำนั้นกับเราแต่อาจจะนำไปพูดกับคนอื่น

ปัญหาเด็กติดขวดนม ผ้าห่ม ได้มีการแนะนำให้ผู้ปกครองใช้การเข้าสังคมของเด็กเป็นตัวลดพฤติกรรมการติดสิ่งต่าง ๆ ให้ลดลง โดยให้เด็กได้เห็นแบบอย่างจากเพื่อนคนอื่น ๆ เช่น “ถามเด็กว่าไม่อายเพื่อนหรอ ถ้าเอาขวดนมไปโรงเรียน” ? ปัญหาเด็กไม่รู้จักการรอคอย ให้ใช้การอธิบายถึงเหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องรู้จักการรอคอย ซึ่งพ่อแม่ต้องฝึกการตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ให้แก่ลูกช้าลง เพื่อให้เด็กรอคอยเป็น เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวันที่กำลังรับรู้ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งผู้ใหญ่จำเป็นต้องช่วยบอก ช่วยสอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย

ปัญหาการร้องขอเงินเพื่อซื้อขนมของเล่นตลอดเวลา ผู้ปกครองมักตอบสนองเด็กโดยการจ่ายเงินซื้อสิ่งของตามที่เด็กร้องขอ จนเป็นผลทำให้เด็กทานขนมมากจนเกินไป และไม่ยอมทานข้าว วิทยากรจึงให้แต่ละครอบครัวคิดค่าใช้จ่ายค่าขนมของลูกในหนึ่งวัน ทำให้ผู้ปกครองได้พบว่าได้ใช้จ่ายเงินเรื่องการซื้อขนมให้ลูกเป็นเงินจำนวนมาก จึงได้มีการเสนอให้ครอบครัวลองทำบัญชีครัวเรือนค่าใช้จ่ายเฉพาะของลูก เพื่อจะนำมาสู่การแก้ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายของลูก และพ่อแม่ควรสร้างเงื่อนไขและต่อรองลูกบ้าง ไม่ใช่ยอมทำตามที่ลูกต้องการทุกอย่าง


นอกจากคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมลูกแล้ว วิธีการเสริมแรงทางบวกแก่เด็กก็เป็นสิ่งจำเป็น เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม ผู้ปกครองควรให้รางวัลตอบแทนเป็นคำชม การกอดสัมผัส แทนการให้รางวัลเป็นสิ่งของ เพราะจะกลายเป็นการให้สินบนลูก การให้คำชมจะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าและความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งคำพูดของพ่อแม่มีอิทธิพลต่อจิตใจของเด็กเป็นอย่างมาก คำพูดที่ควรให้เป็นรางวัลแก่เด็ก ได้แก่ “แม่เชื่อว่าลูกแม่ทำได้”...... “แม่ภูมิใจในตัวลูกมากนะ”......“แม่รักลูกนะ” เป็นต้น
การฝึกลูกให้มีวินัย ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมพฤติกรรมตนเอง ผู้ปกครองสามารถทำได้โดยฝึกให้ลูกเรียนรู้กฏ กติกา และวินัย โดยเริ่มจากการสร้างกฎ กติกา ภายในครอบครัวก่อน เพื่อต่อไปเด็กจะสามารถเรียนรู้กฎกติกาใหม่ ๆ ในโรงเรียน และสังคมได้ง่ายขึ้น อาจจะเริ่มฝึกจากการกำหนดเวลาในการนอน กำหนดค่าขนมในหนึ่งวัน เพื่อให้เด็กรู้จักการทำตามข้อตกลงร่วมกันของคนในครอบครัว ซึ่งต้องทำซ้ำ ๆ ทำอย่างสม่ำเสมอ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งครอบครัว ควบคู่ไปกับสอนการคิดเชิงเหตุผลให้กับเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้น จะทำให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีระเบียบวินัยในตนเอง และควบคุมตนเองได้



โครงการฯ ขอขอบคุณวิทยากร คุณศศกร วิชัย นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการพิเศษ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และ ทพ.ญ.ชัญญา ธีระโชติ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ คุณคณางค์ กงเพชร คุณลานนิพนธ์ เกษลา และคุณชวลิต กงเพชร ทีมวิทยากรจากโครงการครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดกาฬสินธุ์

Baby Pete counts to sleep

Five Green Peas

3 year old piano player will be a star

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด
กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ มีรายละเอียดของแต่ละทักษะดังนี้

ทักษะการสังเกต
             การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:60) ได้กล่าวว่า ในการสังเกตต้องระวังอย่านำความคิดเห็นส่วนตัวไปปนกับความจริงที่ได้จากการสังเกตเป็นอันขาด เพราะการลงความคิดเห็นของเราในสิ่งที่สังเกตอาจจะผิดก็ได้ ถ้าอยากรู้ว่าข้อมูลที่บันทึกนั้นเกิดจาการสังเกตหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลที่ได้นี้ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัสส่วนไหนหรือเปล่า ถ้าคำตอบว่าใช่ แสดงว่าเป็นการสังเกตที่แท้จริง
นิวแมน (Neuman 1978: 26) ได้เสนอหลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
             1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
             2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
             3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่าง
ระมัดระวัง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่า
สุชาติ โพธิวิทย์ (ม.ป.ป.:15) ได้กล่าวถึงการสังเกตที่สำคัญที่ควรฝึกให้แก่เด็ก มี 3 ทางคือ
             1. การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป คือ ความสามารถในการใช้ประสาท
สัมผัสทั้ง 5 อย่าง สังเกตสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง คือ การใช้ตาดูรูปร่าง ลักษณะ หูฟังเสียง ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น และการสัมผัสจับต้องดูว่าเรียบ ขรุขระ แข็ง นิ่ม ฯลฯ
             2. การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การใช้เทอร์โมมิเตอร์ ตาชั่ง ไม้บรรทัด กระบอกตวง ช้อน ลิตร ถัง ฯลฯ ใช้เครื่องมือเหล่านี้วัดสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานออกมาเป็นปริมาณ เป็นจำนวน
             3. การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น สังเกตการเจริญเติบโตของต้นพืช การเจริญ
เติบโตของสัตว์ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงขนาดของผลึก การกลายเป็นไอของน้ำ ฯลฯ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต

การสังเกตโดยใช้ตา            
    ในการสังเกตโดยใชสายตานั้น หากเด็กได้รับการชี้แนะให้รู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่าง ๆ สังเกตความเหมือน ความแตกต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภทก็จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยขั้นแรกให้ดูสิ่งที่เด็กพบ เห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้ ขณะที่พาเด็กไปเดินเล่นในบริเวณโรงเรียน ครูเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้เด็กดู (ไม่ควรเด็ดใบไม้จากต้น ถ้าเด็กอยากเด็ด ให้บอกเด็กว่า “เก็บ จากพื้นดีกวา ดอกไม้ใบไม้ที่อยู่กับต้นช่วยให้ต้นไม้ดูสวยงามและเจริญเติบโต ถ้าเราเด็ด ออกมาดูอีกเดี๋ยวเดียวก็จะเหี่ยว”) ให้เด็กสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ เด็กจะเห็นว่า ใบไม้ ส่วนใหญ่มีสีเขียว แต่บางใบก็มีสีแตกต่างไป ส่วนรูปร่างลักษณะก็มีทั้งคล้ายกันและต่าง กัน เช่น ใบมะนาวไม่มีแฉก ใบตำลึงมีแฉก เป็นต้น นอกจากใบไม้แล้ว ควรให้เด็กสังเกตุ รูปทรงต่าง ๆ ของพืช เช่น เป็นลำต้นตรงสูงขึ้นไป เป็นเถาเลื้อยเกาะกับต้นอื่น ให้สังเกต ความแตกต่างของดอกไม้ และผลไม้ต่าง ๆ เช่น ดอกอัญชันมีสีม่วงเข้ม ส่วนดอกมะลิมีสี ขาว แล้วให้เด็กนำไปใช้ประโยชน่อะไรได้ เช่น เอาดอกอัญชันไปใช้ย้อมผ้าได้ ใบเตยนำ
ไปใช้ในการทำขนม ทำให้มีสีสวยและกลิ่มหอม เป็นต้น
นอกจากสังเกตใบไม้แล้ว ครูควรจัดหาเมล็ดพืชหลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กเล่นเพื่อ สังเกตลักษณะรูปร่างขนาด สี และหัดแยกประเภท และจัดหมวดหมู่ โดยนำเมล็ดที่มีลักษณะคล้ายกันไว้ด้วยกัน รวมทั้งให้คิดว่าเป็นเมล็ดของพืชชนิดใดด้วย
อุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับการสังเกต คือ แว่นขยาย เด็ก ๆ มักตื่นเต้นที่ได้ เห็นสิ่งต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น และเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ใบไม้ เส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ก้อนหิน เม็ดทราย เป็นต้น
การสังเกตโดยใช้หู       
      นอกจากความสามารถในการจำแนกเสียงจะมีประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อม ทางภาษาแล้วยังมีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กอีกด้วย เสียงที่เด็กคุ้นหูคือ เสียงสัตว์ต่าง ๆ ครูอาจใช้วิธีอัดเสียงนกในท้องถิ่น เสียงกบร้อง เสียง จักจั่น ฯลฯ แล้วเปิดเทปให้เด็กทายว่าเป็นเสียงสัตว์อะไรที่เด็กรู้จักสังเกตความแตกต่าง ของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้ครูสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเกี่ยวกับลักษณะและความเป็น อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ ได้ และช่วยให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะสังเกตและศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมมากขึ้น
สำหรับการฟังเสียงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว อาจใช้วิธีให้เด็กปิดตา แล้วเดาว่าเสียงที่ ครูทำนั้นเป็นเสียงอะไร เช่น เสียงเคาะไม้ เสียงช้อนคนแก้วน้ำ เสียงฉิ่ง เป็นต้น จากการ ฟังเสียงที่แตกต่างกันของวัตถุเหล่านี้ เด็กจะเรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัตถุซึ่งมีผลทำให้ เกิดเสียงที่ต่างกันไป นอกจากนี้ อาจนำเครื่องดนตรี หรือเครื่องให้จังหวะที่ทำด้วยวัสดุ ต่าง ๆ มาแสดงให้เด็กเห็นว่ามีเสียงต่างกัน เช่น ลูกซัดที่ใส่ถั่วเขียวไว้ข้างใน ลูกซัดหวาย ร้อนด้วยฝาน้ำอัดลม กรับไม้ไผ่ ฯลฯ
การสังเกตโดยใช้จมูก           
    กิจกรรมที่ใช้การดมกลิ่น ควรประกอบด้วยการให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นต่าง ๆ กัน รวม ทั้งให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นคล้าย ๆ กัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเพื่อให้รู้จักจำแนกได้ ละเอียดขึ้น ในขั้นแรกให้นำของต่าง ๆ ที่จะให้เด็กดมใส่ขวดเอากระดาษปิดขวดรอบนอก เพื่อไม่ให้เห็นสิ่งของ ให้เด็กดมแล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร ตัวอย่างสิ่งที่อาจให้ดม ได้แก่ หัวหอม กระเทียม สบู่ กาแฟ ใบสะระแหน่ เปลือกส้ม ยาดม ฯลฯ ต่อมาหลังจากที่เด็ก สามารถจำแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควรให้ดมกลิ่นสิ่งที่มีกลิ่นคล้ายกัน แต่ก็มีความ
แตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น สบู่ต่างชนิดกัน ดอกไม้ต่าง ๆ ใบไม้ต่าง ๆ ผลไม้ เช่น ส้ม กับมะนาว แล้วให้เด็กพูดบรรยายความรู้สึก เช่น ดอกไม้ดอกนี้หอมชื่นใจ ดอกนี้หอมแรงไป หน่อย ใบไม้นี้มีกลิ่นหอม ใบนี้กลิ่นคล้ายของเปรี้ยว เป็นต้น
การสังเกตโดยใช้ลิ้น            
    การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับ ธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะ สิ่งต่าง ๆ แต่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งใดเอาเข้าปากได้ และสิ่งใดไม่ควรแตะต้องเพราะมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเด็กไปพบเห็นสิ่ง ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติจะได้ไม่เอาเข้าปาก การให้เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จัก ความแตกต่างของรส และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้น ให้เอาอาหารชิ้นเล็ก ๆ หลายอย่างใส่ถาดให้เด็กปิดตาแล้วครูส่งให้ชิม ให้เด็ก ตอบว่า กำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล เกลือ วุ้น มะยม มะนาว ฯลฯ หลังจาก นั้นให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสหล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เช่น มะยมกับ มะนาวแตกต่างกันอย่างไร
การสังเกตโดยใช้การสัมผัสทางผิวหนัง           
     การสัมผัสโดยใช้มือแตะหรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป กิจกรรมอาจเริ่มโดยเอาวัตถุหลายอย่างใส่ถุง ให้เด็กปิดตาเอมมือหยิบสิ่งของขึ้นมา แล้ว ให้บอกว่าสิ่งที่คลำมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ ของที่นำมาใส่ในถุงควรเป็นสิ่งที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่าง ๆ กระดาษ หยาบ ฟองน้ำ ไม้ ขนนก เหรียญ ฯลฯ นอกจากเด็กจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ เหล่านี้แล้วยังได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของวัตถุแต่ละชนิดอีกด้วย

ทักษะการจำแนกประเภท
             การจำแนกประภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships) ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน นอกจากนี้ ประภาพรรณ สุวรรณสุข (2527:37) ได้ให้ความหมายของการจำแนกประเภทว่า หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งการจัดประเภทนี้อาจทำได้หลายวิธี เช่น แยกประเภทตามตัวอักษร ตามลักษณะ รูปร่าง แสง สี เสียง ขนาด ประโยชน์ในการใช้ เป็นต้น
นิวแมน ได้อธิบายว่า เด็กปฐมวัยสามารถจำแนกวัตถุออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้โดยการใช้คุณสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุหรือมิติของวัตถุนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ในการจำแนก อาทิ สี ความแข็งแรง ขนาดและรูปร่าง เป็นต้น เด็กบางคนอาจจำแนกวัตถุต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มได้โดยใช้คุณสมบัติหรือมิติมากกว่าหนึ่งอย่าง ในการจำแนกนี้เด็กควรจะได้รับโอกาสที่ให้สามารถคิดตัดสินใจในการจำแนกโดยใช้วิธีการจำแนกของเด็กเอง และไม่ใช่วิธีการจำแนกของผู้อื่นกำหนดให้ สำหรับ เรส์ด และแพทเตอร์สัน (Resd and Patterson) ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า การจำแนกประเภทเป็นแกนกลางของการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ใช้วิธีการจัดระเบียบการสังเกตด้วยตนเอง การจำแนกประเภทนั้นมีสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 อย่าง คือ เนื้อหาของกระบวนการวิชา คือ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิธีการของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ตลอดทั้งกระบวนการของการจำแนกประเภทของเด็กในการเรียนเกี่ยวกับลักษณะพิเศษของวัตถุชนิดต่าง ๆ ซึ่งเด็กปฐมวัยนั้นสามารถจะจำแนกคุณสมบัติของวัตถุได้โดยใช้วิธีการพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:68) ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทว่า เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้จำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกในการศึกษาและจดจำ โดยอาศัยเกณฑ์บางอย่างในการจำแนกสิ่งเหล่านี้ เช่น จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นพืชและสัตว์ โดยอาศัยลักษณะรูปร่าง การเคลื่อนไหว การกินอาหาร การขับถ่ายของเสีย และการสืบพันธุ์เป็นเกณฑ์ในการจำแนก เมื่อพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้แล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่า พืชและสัตว์แตกต่างกันมาก บางครั้งอาจจะมีปัญหาอยู่บ้างในการเลือกเกณฑ์ที่จะใช้ในการจำแนกประเภท ยกตัวอย่างเช่น แป้งเปียกมีลักษณะกึ่งกลางระหว่างของแข็งกับของเหลว จึงไม่ทราบจะจัดเข้าประเภทใด ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า การจำแนกโดยใช้เกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดแต่เพียงอย่างเดียว จะมีข้อจำกัดในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ จึงมีข้อเสนอแนะว่าในการจำแนกนั้นเราจะใช้วิธีใด หลักใดก็ตาม วิธีที่ดี คือ วิธีที่ทำให้เราสามารถแยกประเภทและระบุชนิดของวัตถุต่าง ๆ ได้โดยเด็ดขาด ไม่ควรก้ำกึ่งกันจะทำให้สับสน การพัฒนาทักษะในการจำแนกประเภทนั้น ผู้เรียนจะต้องเริ่มด้วยการจำแนกกลุ่มของวัตถุออกเป็นสองพวกตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นก็แบ่งต่อไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นครั้งที่สอง และทำเช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งผู้เรียนสามารถแบ่งระบุวัตถุที่มีอยู่จำนวนมาก ๆ ได้
ดังนั้นการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยด้วยวีธีการจำแนกประเภท ครูจะต้องพยายามจัดหาวัสดุอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กได้เล่น เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจอยู่เสมอ กระตุ้นให้เด็กเสนอแนวคิดในการจำแนกวัตถุในหลาย ๆ ลักษณะให้ได้มากที่สุดที่เด็กจะทำได้ และหลังจากที่เด็กจำแนกประเภทได้แล้ว ควรให้เด็กอภิปรายเหตุผลที่เขาได้จำแนกตามประเภทเช่นนั้น

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภท
การแยกประเภทเมล็ดพืช

แนวคิด
เมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัตถุประสงค์
   หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ
             1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ
             2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัสดุอุปกรณ์

             1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ
             2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช
             3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)

กิจกรรม

             1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อ
แจกให้กับเด็กทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืชตามลำพัง
             2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ครูเดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น
             3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขาได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น
             4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า
“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืชเหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”
“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน”
“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”

ข้อเสนอแนะ

             1. กิจกรรมนี้จะได้ผลดีควรจะต้องหาเมล็ดพืชหลายประเภทและหลายขนาด
            2. เมล็ดพืชนี้ครูอาจให้เด็กช่วยกันนำมาและสะสมไว้ เพราะอาจจะเก็บไว้ใช้ได้อีก ในหลาย ๆ กิจกรรม
ทักษะการวัด
             การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ
ทิพย์วัล สีจันทร์ (2531 :19) กล่าวถึงการใช้คำถามเพื่อฝึกฝนให้ผู้วัดหาคำตอบและกระทำตาม คือ
             1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก
             2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด
             3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะวัดด้วย
             4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ เป็นต้น
ส่วนด้านการวัดนั้น สำนึก โรจนพนัส (2528 : 29) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวัดของเด็กอนุบาลว่า เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นของการวัด เช่น การกะปริมาณ กิจกรรมใดก็ตามที่จะให้เด็กชี้หรือบอกว่าสิ่งที่เขาสัมผัสอยู่นั้น หนัก เบา ใหญ่ เล็ก ฯลฯ ล้วนเป็นการเตรียมความพร้อมทางการวัดทั้งสิ้น
ในด้านปริมาณ ประภาพรรณ สุวรรณศุข (2527 : 376) ได้อธิบายถึงการให้เด็กปฐมวัยบอกปริมาณของวัตถุต่าง ๆ ว่า ควรจะมุ่งในเรื่องของปริมาณที่สามารถมองเห็นได้ชัดและเป็นหน่วยใหญ่ ๆ ไม่ควรสนใจในเรื่องหน่วยย่อย เช่น การเปรียบเทียบโต๊ะ 2 ตัว ว่าตัวใดยาวกว่า ครูอาจแนะนำให้เด็กสังเกตด้วยสายตา อาจจะใช้สายวัดมาวัดดู อาจจะทำเครื่องหมายบนสายวัดเอาไว้ เด็กก็จะสามารถมองเห็นความแตกต่างกันได้ แต่ครูไม่ควรบอกเด็กว่าโต๊ะตัวแรกยาว 12 นิ้ว
1 เซนติเมตร โต๊ะตัวที่สองยาว 11 นิ้ว โต๊ะตัวไหนยาวกว่ากัน การบอกความยาวเป็นเช่นนี้ เด็กจะยังไม่สามารถเข้าใจเกี่ยวกับมาตราได้ดี เด็กก็จะตอบคำถามไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เด็กไม่สนใจเรียน และการให้เด็กแสดงปริมาณของวัตถุ ไม่ควรใช้การสังเกคด้วยสายตาเพียงอย่างเดียว ควรให้เด็กได้ใช้วิธีต่าง ๆ ให้มากที่สุด

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการวัด

ตัวอย่างการวัดอย่างง่าย ได้แก่ วัดโต๊ะเรียนสูงกี่คืบ กระดานดำยาวกี่ศอก น้ำมี
ปริมาตรกี่ปี๊บ ระยะเวลาเรียนหนังสือนานเพียงไร (อาจตอบว่าตั้งแต่หลังเคารพธงชาติ จนถึงเวลาอาหารกลางวันหรือพระอาทิตย์ตรงศรีษะ)
ทักษะการสื่อความหมาย
             การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
ลักษณะที่จะบอกได้ว่า การสื่อความหมายได้ดีหรือไม่ จะต้องเป็นดังนี้
             1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
             2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
             3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
             4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ เป็นต้น
การที่จะฝึกเด็กให้มีทักษะในการสื่อความหมายที่ดีได้นั้น เด็กจะต้องรู้คำศัพท์ หรือความหมายของคำเป็นอย่างดี อีกทั้งจะต้องมีประสบการณ์ในการสื่อความหมายที่ถูกวิธีด้วย การพัฒนาทางด้านภาษา และความพร้อมในการอ่าน จะช่วยทำให้มีความสามารถในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการที่เราจะให้เด็กสามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ดี จึงควรที่จะจัดประสบการณ์ด้านนี้ให้แก่เด็กตั้งแต่วัยปฐมวัย ซึ่งครูจะต้องกระตุ้นให้เด็กเป็นผู้อธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้ค้นพบให้มากที่สุด ถ้ามีเด็กที่ไม่ชอบพูดครูอาจจะต้องใช้เทคนิคในการตั้งคำถาม และหากเด็กบรรยายสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง ครูควรแก้ไขทันที

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อความหมาย
 วัสดุบางอย่างสามารถลอยน้ำ
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่ลอยน้ำได้
แนวคิด
วัตถุบางอย่างสามารถลอยน้ำได้

วัตถุประสงค์

หลังจากทำกิจกรรมนี้เสร็จแล้วเด็กสามารถ
             1. ชี้บ่งวัตถุที่สามารถลอยน้ำได้
             2. อธิบายสาเหตุที่วัตถุลอยน้ำได้
             3. อธิบายสาเหตุที่ทำให้วัตถุจมน้ำ

วัสดุอุปกรณ์

  กระดาษ ใบตอง กาบมะพร้าว ดินน้ำมัน เปลือกไม้ ตะปู ก้อนหิน ดินน้ำมัน อะลูมิเนียมฟอย (ถ้ามี) อ่างน้ำ น้ำ

กิจกรรม

             1. แบ่งเด็กนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 4-5 คน
             2. แจกวัสดุทั้งหมด (ยกเว้นอ่างน้ำ และน้ำ) ที่กล่าวข้างต้นให้แก่เด็กทุกกลุ่ม
             3. บอกให้เด็กสร้างเรือคนละประเภทจากกระดาษ ใบตอง กาบมะพร้าว ดินน้ำมัน เปลือกไม่ อะลูมิเนียมฟอย ครูควรกระตุ้นให้เด็กทำเรือที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ทำเป็นเรือใบ เรือแจว เรือเปลือกไม้ ฯลฯ
             4. ให้เด็กนำเอาเรือที่ได้ทำเสร็จแล้วไปลอยในอ่างน้ำที่มีน้ำอยู่และให้เด็กสังเกตเรือของตนเองว่าลอยน้ำได้หรือไม่ หลังจากนั้นครูอาจแนะนำให้เด็กเอาก้อนหินหรือตะปู หรือดินน้ำมันค่อย ๆ ใส่ลงไปบนเรือทีละอันหรือทีละก้อน และสังเกตดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นถ้าเรือลำใดยังไม่จมน้ำครูอาจเสนอแนะให้เด็กเครื่องล่วงใส่ลงไปอีกจนกว่าเรือจะจม
             5. ครูอภิปรายกับเด็กโดยตั้งคำถามดังนี้
“เรือที่เขาทำนั้นมีรูปร่างเป็นอย่างไร”
“เรือของใครบ้างที่ลอยน้ำ เพราะอะไร”
“เรือของใครบ้างที่จมน้ำ เพราะอะไร”
“เรือรูปร่างอย่างไรที่แล่นได้เร็ว”
ข้อเสนอแนะ        
              1. กิจกรรมนี้ควรให้เด็กเล่นนอกห้อง และควรจัดหาอ่างน้ำให้เท่ากับจำนวนกลุ่ม
             2. ก่อนทำกิจกรรมนี้ครูควรฝึกให้เด็กพับเรือให้เป็นรูปต่าง ๆ ให้ได้ก่อนจะได้ไม่ เสียเวลามาก และเด็กสามารถเห็นความแตกต่างของเรือประเภทต่าง ๆ
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
             การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลนี้อาจได้จากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง การลงความเห็นจากข้อมูลต่างกับการทำนายในแง่ที่ว่า การลงความเห็นจากข้อมูลไม่บอกเหตุการณ์ในอนาคต เป็นเพียงแต่อธิบายความหมายจากข้อมูล โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย
การลงความเห็นจากข้อมูล เป็นการอธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย มีลักษณะดังนี้
             1. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่าง
การลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่างที่สังเกตได้โดยมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น เห็นสารสีขาวก็บอกว่าเป็นเกลือ โดยยังไม่ได้สังเกตคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ของสิ่งนั้นให้เพียงพอ เช่น ยังไม่ได้สังเกตการละลาย รส เป็นต้น
             2. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
อธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกต โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิม เช่น เห็นต้นกุหลาบเหี่ยว ใบเป็นรูพรุน ก็บอกว่าเพราะหนอนกิน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าคืออะไร แต่อาศัยที่คนอื่นเคยบอกหรือเคยเห็นหนอนกินกุหลาบบ้านอื่น (ซึ่งถ้าต้องการจะรู้ว่ากุหลาบถูกหนอนกินจริงหรือไม่ก็ต้องสังเกตดูว่า บริเวณนั้นมีหนอนหรือไม่ ถ้าไม่พบแต่ยังสงสัยอยู่ว่า หนอนจะเป็นสาเหตุก็ลองตั้งสมมติฐานว่า “หนอนเป็นสาเหตุให้กุหลาบชนิดนี้ตายหรือไม่”)
ลัดดาวัลย์ กัณหสุวรรณ (2530 : 6-8) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับทักษะการลงความเห็นไว้ว่า ผู้ที่ลงความเห็นจะใช้ผลของการสังเกต และใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นข้อสรุปลงความเห็น ซึ่งอาจจะดีกว่าการเดาเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีใครทราบว่าผิดหรือถูก
หลายคนมีความเห็นว่า การลงความเห็นไม่น่าจะยกขึ้นมากล่าวในเรื่องของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่ทว่าการลงความเห็นนั้นเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรามักจะทำกันเสมอ ในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อสังเกตเห็นน้ำเปียกบนถนนก็คิดว่าฝนคงจะตกลงมากระมัง นอกจากนี้ยังมีการลงความเห็นในปรากฏการณ์อื่น ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้หาวิธีการที่จะช่วยให้สามารถลงความเห็นได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด
สำหรับทักษะในการลงความเห็นนั้น มิใช่ว่าครูจะมุ่งแต่การฝึกให้นักเรียนลงความเห็นอย่างเดียว แต่จะต้องพยายามให้เด็กเรียนวิเคราะห์ให้ได้ว่า อะไรคือผลของการสังเกต และอะไรเป็นสิ่งที่เราพูดเอาเอง หรือสรุปลงความเห็นเอาเอง ซึ่งมิใช่ผลของการสังเกต และให้เน้นว่าเมื่อสังเกตอะไรแล้ว อย่ารีบด่วนสรุปลงความเห็น เพราะว่าไม่มีอะไรยืนยันว่า ข้อสรุปลงความเห็นนั้นผิดหรือถูก ควรเน้นว่า ข้อมูลใด ๆ ที่ได้มาจากการลงความเห็นแต่เพียงอย่างเดียวจะถือเป็นข้อยุติไม่ได้
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ครู - นักเรียนดูสิ่งที่ครูถืออยู่นี้แล้วบอกซิว่า สังเกตอะไรได้บ้าง
นักเรียน - เห็นกล่องกลม ๆ สีดำ ฝาสีแดง
ครู - นักเรียนลองมาจับกล่องใบนี้ เขย่าดูซิว่าเป็นอย่างไร
นักเรียน - เขย่าแล้วมีเสียงดัง
ครู - แล้วยังไงอีก
นักเรียน - มีวัตถุรูปร่างแบน ๆ อยู่ในกล่อง
กิจกรรมนี้จะเห็นได้ว่า นักเรียนสังเกตได้แต่เพียงกล่องสีดำ ฝาสีแดง เขย่าแล้วมี เสียงดัง ส่วนที่บอกว่า วัตถุที่อยู่ข้างในรูปร่างแบน ๆ นั้น เขาสังเกตไม่ได้ เขาเพียงได้ยิน เสียงเท่านั้น แล้วลงความเห็นเลยว่า รูปร่างเป็นอย่างไร ซึ่งที่บอกมานั้นอาจผิดหรือถูกก็ได้ จากตัวอย่างนี้คงจะช่วยให้เข้าใจถึงทักษะการลงความเห็นได้บ้าง สำหรับทักษะในการลง ความเห็นนั้นควรจะนับเป็นก้าวหนึ่งที่ก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น แต่ครูจะต้องไม่ลืม กระตุ้นให้นักเรียนหาข้อมูลเพิ่มเติมอีก
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
             สเปส หรือมิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็ก
ปฐมวัยอาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้
             1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
             2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืนอยู่
             3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
             4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใดไว้ เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
  การสังเกตเงา

วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กสามารถบอกชื่อวัตถุจากการสังเกตเงา และเปรียบเทียบเงาที่ได้เห็นกับวัตถุของจริงได้

วัสดุอุปกรณ์

             1. ฉาก (อาจจะใช้กระดาษขาว กล่องกระดาษหรือผ้า)
             2. วัตถุหลาย ๆ ประเภทนี้มองเห็นได้ชัดเจน แลมีรูปร่างที่เด่นชัดเมื่อเด็กมองเห็น สามารถจะตอบได้ว่าเป็นอะไร เช่น ขวด แก้ว ช้อน ส้อม รูปดาว ดอกไม้ เป็นต้น วัสดุนี้อาจจะใช้ของจริงหรือของจำลองก็ได้
             3. รูปภาพ หรือภาพร่าง ของวัตถุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ทุกชนิด

กิจกรรม

             1. จัดตั้งฉาก อาจจะเอาออกไปจัดทำกลางแจ้งเพื่อให้แสงแดดส่องวัตถุทำให้เกิดเงาบนฉาก หรืออาจจะทำในห้องโดยใช้แสงไฟ ฉายไปที่วัตถุก็ได้
             2. ถือวัตถุไว้หลังฉากโดยทำเป็นมุมปกติ และถือวัตถุตามแนวตั้งให้เด็กที่นั่งข้าง หน้าฉากตอบว่าเป็นวัตถุอะไร และทำไมเขาคิดว่าเป็นวัตถุประเภทนั้น
             3. ให้เด็กจับคู่รูปภาพของวัตถุให้สอดคล้องกับเงาที่เขาได้สังเกตไว้ ครูควรจะปิดรูปภาพไว้ก่อน หลังจากดูเงาที่ฉากแล้วจึงเปิดรูปภาพให้เด็กดูและให้เขาเลือกจับคู่ มิฉะนั้นแล้วเด็กจะสนใจกับรูปภาพโดยไม่ได้ตั้งใจดูเงาที่ฉาก
             4. ถามเด็กว่าเขาใช้ประสาทส่วนใดในการสังเกต

ข้อเสนอแนะ

             1. ควรให้เด็กได้เล่นกับเงาที่ฉาก และให้เด็กแต่ละคนได้เป็นผู้ทำกิจกรรมนี้โดยผลัดกันออกมาถือวัตถุไว้หลังฉาก
             2. วัสดุที่นำมาให้เด็กเล่นควรมีความหลากหลายเด็กจะได้ไม่เบื่อ
             3. เมื่อเด็กคุ้นเคยกับกิจกรรมที่ใช้วัตถุแล้ว อาจให้เด็กใช้มือแสดงเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ และให้เพื่อนทายว่าเป็นสัตว์ประเภทใด ซึ่งกิจกรรมนี้ครูจะต้องฝึกเด็กดูก่อน
ทักษะการคำนวณ
             การคำนวณ หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
ทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งสำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะในการทดลองหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ นั้น ต้องใช้ตัวเลขในการคำนวณค่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการทดลอง ดังนั้น
กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของตัวเลข จำนวนบวก จำนวนลบ เลขเต็มหน่วย เซตทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคำนวณ
- ครูจัดหาวัตถุสิ่งของมาให้เด็กได้นับจำนวน เช่น มีก้อนหิน 10 ก้อน เป็นต้น
- ครูให้เด็กศึกษาการเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยให้เด็กปลูกและดูแลต้นไม้เอง ตั้งแต่การเพาะเมล็ด และให้เด็กทำการวัดแต่ละสัปดาห์ต้นไม้สูงขึ้นเท่าไร แล้วบันทึกความสูงไว้เป็นจำนวนตัวเลข (ก่อนทำกิจกรรมนี้ครูควรแน่ใจใจว่า เด็กมีความรู้พื้นฐานเรื่องการวัด)
บทสรุป             จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ

The 3 Little Pigs

I Like the Flowers - by Beat Boppers Children's Music

Violin Solo by Multi-Talented 4 Years Old Kid

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

ปัญหาและแนวทางแก้ไขพฤติกรรมเด็ก

รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก
แนวทางแก้ไขปัญหาและการแสดงออก
-พ่อแม่มีความคงที่สม่ำเสมอ ไม่กลับคำพูดไปมาไม่แน่นอน ความสม่ำเสมอคงของพ่อแม่ จะช่วยให้ลูกแน่ใจในพฤติกรรมของพ่อแม่ และมั่นใจในการกระทำของตนเอง
-พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กแสดงตความสามารถ หรือความคิดเห็นอยู่เสมอ และควรให้คำชมเชยหรือกำลังใจ เพื่อให้เด็กตั้งใจททำต่อไป
-พ่อแม่ไม่ควรคอยตำหนิหรือ ช่วยเหลือเด็กทำสิ่งต่างๆตลอดเวลา เพราะจะทำให้คิดว่าตนเองไม่มีความสามารถ หรือทำไม่ได้ การปล่อยให้เด็กรับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ ตามความสามารถจะช่วยสร้างความมั่นใจให้เด็กได้
-เมื่อเด็กทำสิ่งใดผิดพลาด พพ่อแม่ควรแนะนำให้แก้ไขปรับปรุง หากเด็กทำได้ดียิ่งขึ้นพ่อแม่ควรให้คำขมเชยด้วย
1.เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง   -เด็กไม่กล้าแสดงออกหรือทำสิ่งต่าง ๆ นอกจากคำสั่งของพ่อแม่
   -เด็กไม่กล้าตัดสินใจ กลัวจะตัดสินใจผิด หรือรู้สึกไม่แน่ใจ
   -เด็กต้องพึ่งผู้ใหญ่หรือพึ่งเพื่อนในการตัดสินใจ หรือดำเนินชีวิตเสมอ
-พ่อแม่ควรเข้าใจลักษณะสำคัญของเด็กสมาธิสั้นและอดทนกับเด็ก เพราะเด็กเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมตนเองจึงเป็นเช่นรั้น
-พ่อแม่ไม่ควรเพิ่มความกดดันให้กับเด็กโดยบังคับหรือลงโทษให้เด็กอยู่นิ่ง ๆ เพราะเด็กก็ทำไม่ได้ ควรพยายามจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้อยู่ในที่เงียบ ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิดียิ่งขึ้น
-ควรมอบหมายให้เด็กทำงานที่ใช้เวลาช่วงสั้น ๆ เมื่อเด็กทำสำเร็จก็ควรให้คำชมเชยด้วย
-พ่อแม่ควรพาเด็กไปพบจิตแพทยเพื่อช่วยเหลือบำบัดรักษาให้อาการเหล่านี้ทุเลาลง
2. ปัญหาเด็กสมาธิสั้น   -เด็กจะอยู่นิ่ง เคลื่อนไหวและซนมากตลอดเวลา มีความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นช่วงสั้น ๆ
   -เด็กไม่ค่อยอดทน รอคอยอะไรนานๆ ไม่ค่อยได้
   -ไม่มีความตั้งใจจะทำงานให้สำเร็จด้วยตนเอง
   -มีปัญหาการเรียนเนื่องจากไม่สามารถอดทน ติดตามบทเรียนจนจบได้
-พ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้ ควรถามถึงเหตุผล อธิบายให้เด็กฟังว่าการกระทำเช่นนี้ เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง และควรให้เด็กเอาไปคืนเจ้าของ
-หาทางออกให้เด็ก เช่น ถ้าพบว่าเด็กต้องการความสนใจ พ่อแม่ก็ควรใช้ความรักความเอาใจใส่เด็กมากขึ้น ถ้าเด็กต้องการแก้แค้นเพื่อนควรสอนให้เด็กพูดกับเพื่อนตรง ๆ เป็นต้น
-พ่อแม่ไม่ควรลงโทษเด็กอย่างรุนแรง เพราะอาจจะเป็นการผลักดันให้เด็กกระทำผิดซ้ำอีก
3. เด็กขโมยของเพื่อน   -เด็กจะขโมยของของคนอื่นมาเป็นของตนเอง ของที่เด็กขโมยมักเป็นของที่อยากได้หรืออุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ ส่วนใหญ่ปัญหานี้เกิดขึ้นกับเด็กวัย 6-7 ขวบ ทั้งนี้เด็กไม่ได้มีนิสัยขี้ขโมยแต่อาจมีเหตุผลหลายอย่าง เช่น เพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ ต้องการแก้แค้นเพื่อน พิสูจจน์ว่าตนเองเป็นคนกล้าหาญ เป็นต้น
-พ่อแม่ควรคอยซักถามถึงคนที่อยู่รอบข้างเด็ก เช่น เพื่อนว่ามีใครบ้าง เล่นอะไรกับใคร เป็นเพื่อนที่ดีบ้างหรือไม่ ควรพูดคุยด้วยความเป็นกันเอง เด็กจะได้รู้สึกไว้วางใจและเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
-พ่อแม่ควรสอนวิธีการหลีกเลี่ยงเด็กเกเร เช่น ไม่พูดคุยหรือเกี่ยวข้องด้วย และควรสนับสนุนให้คบเพื่อนที่ดี หรือเพื่อนที่ช่วยปกป้องเด็กได้
-เพิ่มความมั่นใจให้กับเด็ก โดยเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็นเป็นของตนเอง รู้จักโต้แย้งอย่างมีเหตุผล รู้จักปฏิเสธ และให้กำลังใจเด็กเสมอ ๆ
-เพิ่มความเข้มแข็งให้กับเด็กโดยสนับสนุนให้เล่นหรือสอนวิชาป้องกันตัว
4. ปัญหาเด็กถูกรังแก   -เด็กไม่รู้จักวิธีการป้องกันตัวเอง ปล่อยให้เพื่อน พี่หรือน้อง รังแกได้ง่าย ๆ ถูกรังแกแล้วก็ไม่ยอมบอกใคร บางครั้งถูกขุ่ไม่ให้บอกพ่อแม่หรือครู
   -มีท่าทางอ่อนแอ ขี้กังวล กลัวเพื่อน ไม่ยอมให้เข้ากลุ่ม กลัวพี่ไม่พูดด้วย ต้องพึ่งพิงคนอื่นเสมอ
-พ่อแม่ควรพูดคุยกับเด็กถึงผลเสียที่เด็กจะได้รับจากการอ่านแต่หนังสือการ์ตูน หรือดูแต่โทรทัศน์ และตกลงกันถึงช่วงเวลาของการดูการ์ตูน หรือเล่นการ์ตูนให้ชัดเจนและลดน้อยลง โดยแบ่งเวลาไปทำการบ้านและช่วยเหลืองานบ้านด้วย
-พ่อแม่ควรตามดูแลเด็กให้ทำการบ้านให้เรียบร้อย และช่วยเหลืองานบ้านตามที่ตกลงกันไว้อย่างสม่ำเสอม และไม่ควรยอดเมื่อเด็กต่อรอง เพื่อขออ่านการ์ตูนหริอเล่นเกมส์ ก่อน
-ถ้าเด็กทำตามที่ตกลงกันไว้ พ่อแม่ควรชมเชย หรือให้กำลังใจด้วย
5. เด็กติดการ์ตูนหรือเกมส์   -เด็กจะอ่านแต่หนังสือการ์ตูน หรือดูการ์ตูน
เล่นเกมส์ ไม่ยอมทำการบ้าน และช่วยเหลือ
งานบ้าน
-เมื่อพ่อแม่ได้ยินพูดจาด้วยคำหยาบคาย ไม่ว่าจะพูดกับเพื่อน หรือ เป็นคำอุทานก็ตามพ่อแม่ควรทักท้วง ตักเตือนและบอกถึงผลเสียของการพูดคำหยาบคาย เด็กอาจจะโต้แย้งว่าเพื่อน ๆ ก็พูดกัน พ่อแม่ก็ควรอธิบายให้เด็กฟังว่า เด็กไม่จำเป็นต้องเอาอย่างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเพื่อน
-พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้คำพูดในบ้าน
6. เด็กชอบพูดคำหยาบ   -เด็กจะพูดคำหยาบเวลาที่ไม่พอใจหรือเล่นกับเพื่อนฝูง
-เมื่อเด็กต้องการจะทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง พ่อแม่ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำตามความสามารถของเด็ก และถ้าเด็กทำได้ดี พ่อแม่ควรแสดงความชื่นชม หรือให้คำชมเชย
-พ่อแม่ต้องพยายามกระตุ้นให้เด็กทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น รินน้ำกินเอง ทำการบ้านเองโดยพ่อแม่ไม่ต้องช่วยเหลือ ทั้งนี้ พ่อแม่ไม่ควรเข้มงวดหรือจู้จี้จุกจิกจนเกินไป
-พ่อแม่ต้องไม่ช่วยเด็กทุกอย่างทุกเรื่อง บางเรื่องอาจจะต้องปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยพ่อแม่ช่วยสอนหรือชี้แนะแนวทางให้
-พ่อแม่ควรมอบหมายความรับผิดชอบให้เด็กทำตามความสามารถของเด็กแต่ละวัย
-พ่อแม่ต้องไม่บงการลูกทุกเรื่อง
7. เด็กไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง   -เด็กจะมีลักษณะขี้เกียจ ไม่ยอมทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เช่น ต้องปลุกให้ลุกจากที่นอนทุกเช้าจัดกระเป๋า เตรียมชุดนักเรียนให้ ทั้ง ๆ ที่เด็กมีความสามารถจะทำเองได้ พ่อแม่ต้องคอยเตือนและคอยช่วยเหลือทุกอย่าง รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่เด็กควรจะใช้ความสามารถของตนเองจัดการแก้ไข
-ถ้าเป็นเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ควรให้เด็กทำกิจกรรมอยู่ใกล้ๆ อย่าปล่อยให้เล่นกับเพื่อนตามลำพัง หรือไม่เช่นนั้น ผู้ใหญ่ ต้องมีมาตรการโดยบอกกับเด็กว่า ใครที่ลงมือทำร้ายอีกฝ่ายก่อนต้องถูกลงโทษ
-หากเด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ผู้ใหญ่ต้องถามถึงสาเหตุฟังเด็กพูด และลองเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่ดีกว่า เช่น การพูดแสดงความไม่พอใจออกไปตรง ๆ
-ไม่ควรลงโทษเด็กอย่างรุนแรง เพราะไม่เกิดประโยชน์แต่กลับจะทำให้เด็กด้านไม้เรียวและเจ้าคิดเจ้าแค้น
-ในเด็กโต พ่อแม่ไม่ควรลงโทษ กระทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ พ่อแม่ควรถามถึงสาเหตุ ชี้แจงถึงผลเสียของการใช้กำลังก้าวร้าว และชี้แนะวิธีที่เหมาะสม เช่น อดกลั้นนับ 1-10 บอกความไม่พอใจออกมาตรง ๆ ให้อภัยเพราะเป็นเพื่อนกัน ซึ่งทุกคนก็ทำผิดพลาดกันได้
-ไม่ควรยั่วยุให้เด็กโกรธ
-หากเด็กโกรธ แสดงท่าทางก้าวร้าวมาก ในเด็กเล็กให้ผู้ใหญ่กอดเด็กให้แน่นเพื่อยุติพฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนเด็กโตควรแยกเด็กให้อยู่ตามลำพังเพื่อให้เด็กสงบจิตใจ หลังจากนั้นจึงค่อยพูดคุยกันถึงสาเหตุต่างๆ
8. เด็กก้าวร้าว          -เด็กชอบรักแก เล่นรุนแรงกับเพื่อน มักก่อเรื่องวุ่นวาย ชอบทะเลาะกับเพื่อนหรือพี่น้องวัยเดียวกันเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ เกิดจากการที่เด็กรับรู้และเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม เช่น ความก้าวร้าวของผู้ใหญ่ใกล้ชิด หรือจากภาพยนตร์ เป็นต้น
-พ่อแม่ควรมีข้อตกลงกับลูกและทำตามข้อตกลงนั้น เช่น ทุกเช้าลูกต้องที่นอนให้เรียบร้อย ถ้าทำได้ตลอดอาทิตย์ แม่จะพาไปห้างสรรพสินค้า
-พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
-ให้รางวัลหรือชื่นชมเมื่อเด็กรักษาวินัย และลงโทษเมื่อเด็กทำผิดไม่ปฏิตามระเบียบวินัย
9. เด็กไม่ยอมทำตามระเบียบวินัย    -เด็กจะมีลักษณะ ดื้อ ไม่ยอมทำตามกฏระเบียบ ควบคุมตนเองให้ทำไตามกฏระเบียบไม่ได้
    -ทำสิ่งต่างๆ ตามใจตนเอง
    -ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยผัดวันประกันพรุ่ง ไม่รับผิดชอบ
-เป็นโอกาสให้เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
-พ่อแม่ควรมีเงื่อนไขว่า สิ่งที่เด็กตัดสินใจเลือก เด็กก็ต้อง
มีหน้าที่รับผิดชอบด้วย เช่น เด็กอยากเรียนดนตรีชอบดนตรีก็ต้องตั้งใจเรียน และทำการบ้านให้เรียบร้อย
-พ่อแม่ต้องรับผิดชอบภาระหน้าที่ต่าง ๆ ให้เป็นตัวอย่างแก่ลูก
-พ่อแม่ต้องไม่จู้จี้ และตำหนิมากเกินไป และชื่นชมเมื่อเด็กรับผิดชอบหน้าที่ได้ดี
-พ่อแม่อาจสอนเด็กด้วยการเล่นนิทาน เน้นตัวอย่างของการสร้างค่านิยมให้เด็กมีความรับผิดชอบ
10. เด็กขาดความรับผิดชอบ       -เด็กจะขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และสิ่งที่ได้รับมิบหมาย เช่น ไม่ทำการบ้าน ไม่เก็บที่นอน อยากเลี้ยงสัตว์ แต่ไม่อยากเป็นภาระดูแลให้อาหาร เป็นต้น
-พ่อแม่ไม่ควรตั้งความสมหวังเรื่องการเรียนของเด็กสูงจนเกินไป ควรตั้งความหวังตามความเป็นจริง
-พ่อแม่ยอมรับและชื่นชมความสามารถของเด็กทที่มีอยู่และ พยายามสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาจุดเด่นของเขาให้มากที่สุด
-ไม่ยัดเยียดความเก่งให้ลูกทุกด้าน เด็กควรเรียนพิเศษเฉพาะวิชาที่สนใจ หรือเรียนตามเพื่อนำไม่ทัน
-พ่อแม่ควรสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อการเรียน เรียนเพื่อรู้ไม่ใช้เรียนเพื่อสอบ ดังนั้นเด็กควรได้รับการส่งเสริมความรู้อื่น ๆ นอกเหนือจากตำรา
-พ่อแม่ควรสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้ลูกด้วย เช่น เรียนภาษาอังกฤษ จะได้พูดกับชาวต่างชาติได้
11. ปัญหาการเรียนในเด็ก       -เด็กเบื่อการเรียนเนื่องจากถูกเคี่ยวเข็ญยัดเยียดเกินไป เด็กปฏิเสธการเรียนไม่ตั้งใจเรียน ไม่รับผิดชอบเรื่องการเรียน
-พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
-พ่อแม่ไม่ควรตามใจลูกมากจนเกินไป ให้ลูกรู้คุณค่าของเงิน เช่น ถ้าอยากได้เงินพิเศษต้องทำงานแลก เป็นต้น
-ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องด้วยการที่พ่อแม่สอดแทรกแนวความคิด การเห็นคุณค่าของจิตใจมากกว่าวัตถุนิยม ให้ลูกฟังอยู่เสมอ
-ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตัวเด็ก เช่น การมีครอบครัวอบอุ่น การเป็นคนมีน่ำใจ
-พ่อแม่ต้องมีเทคนิคการไม่ตามใจลุก โดยการปฏิเสธอย่างเข้มแข็ง แต่มีเหตุผล เช่น การแสดงความห่วงใย การเน้นความสนใจไปทำกิจกรรมอื่น การยืนยันความต้องการพ่อแม่ เป็นต้น
12. เด็กมีค่านิยมทางวัตถุนิยมสูง      -เด็กจะใช้เงินฟุ่มเฟือย จับจ่ายไปกับการกินและข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จำเป็น เช่น ซื้อของกินที่ไม่มีคุณค่า ของใช้ยี่ห้อแพง ๆ หรูๆ ดูเด่นกว่า
เพื่อนฝูง เป็นต้น
      -เด็กจะเบื่อง่าย ไม่รักษาของไม่ถนุถนอม หายก็ซื้อใหม่
      -ไม่มีความยั้งคิดและรั้งรอเรื่องการจ่ายเงิน

Karadi Tales - The Blue Jackal - Kids

pianist (5years old girl):Bach Gigue

v

Alphabubblies Jumping ABC Song

v

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

3 Year Old Drummer

นกกระสากับหมาจิ้งจอก

เพลงฮิบโปโปเตมัส

การกระตุ้นพัฒนาการ


Early Stimulation
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
  
 
 
   
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่ายิ่ง และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัย คือ ตั้งแต่วัยแรกเกิด – 6 ปี จะต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ด้วยการตอบสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐาน และส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละวัย ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เหล่านี้ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพสืบไป
 
ความหมายของพัฒนาการ
พัฒนาการ คือ กระบวนการการเปลี่ยนแปลงลักษณะและพฤติกรรมที่มีทิศทาง และรูปแบบที่แน่นอนจากช่วงระยะเวลาหนึ่งไปสู่อีระยะหนึ่ง
วุฒิภาวะ คือ ความพร้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการบรรลุถึงขั้นการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ของบุคคลในระยะใดระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะทำกิจกรรมอย่างนั้น
“พัฒนาการเป็นผลรวมของการกระทำร่วมกันระหว่างวุฒิภาวะและการเรียนรู้”
พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะของระบบต่างๆ และตัวบุคคล ทำให้เพิ่มความสามารถของระบบหรือบุคคล ให้ทำหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำหน้าที่ที่สลับซับซ้อนยุ่งยากได้ ตลอดจนเพิ่มทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวต่อภาวะใหม่ของบุคคลผู้นั้น ซึ่งการจะไปถึงจุดแห่งความพร้อมได้จะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้
ในการดูพัฒนาการเด็กต้องครอบคลุมถึงพัฒนาการต่างๆ ดังนี้
1) ด้านร่างกาย
2) ด้านอารมณ์และบุคลิกภาพ
3) ด้านสังคม
4) ด้านเชาวน์ปัญญา ภาษา และความคิด
 
การตรวจวัดพัฒนาการ
ในการกำหนดบรรทัดฐานว่า เด็กมีการพัฒนาอะไรและอย่างไรในแต่ละช่วงวัยนั้น นำมาจากผลการศึกษาโดยใช้เกณฑ์จากคนหมู่มาก โดยมีแบบวัดที่ได้ผ่านการศึกษาวิจัยมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยม คือ แบบทดสอบเดนเวอร์ เนื่องจากว่าไม่จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการแปลผลมาก สามารถทำได้โดยบุคลากรทางการแพทย์และพ่อแม่ผู้ปกครอง แต่ถึงกระนั้นก็สามารถแปลผลพัฒนาการในทุกๆ ด้านได้ ครบถ้วน
 
สาเหตุของพัฒนาการล่าช้า
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ามีสาเหตุได้หลายอย่าง สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
1) ภาวะสมองพิการ (cerebral palsy) หลังขาดออกซิเจนขณะคลอด หรือตามหลังอุบัติเหตุ หรือตามหลังการติดเชื้อในสมอง
2) โรคลมชักบางชนิด
3) ความผิดปกติของโครโมโซม และโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น กลุ่มอาการดาวน์
4) การขาดฮอร์โมน เช่น ธัยรอยด์
5) ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และภาวะขาดอาหารในเด็ก
6) ภาวะการติดเชื้อขณะมารดาตั้งครรภ์ เช่น หัด เยอรมัน เอดส์ เริม
7) ภาวะขาดอาหารขณะมารดาตั้งครรภ์
8) ภาวะขาดอาหารในช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโต
9) ขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้เลี้ยงดู ถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้ายหรือกระทำทารุณ
10) กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ
สาเหตุของปัญหาพัฒนาการล่าช้าบางอย่างจำเป็นต้องรักษาที่สาเหตุโดยตรง แต่บางอย่างถึงแม้จะทราบว่าเกิดจากอะไร แต่ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ในขณะเดียวกันบางอย่างที่ยังไม่ทราบสาเหตุ ก็สามารถช่วยเหลือให้ดีขึ้นได้มาก
 
การเลี้ยงดูเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
การเลี้ยงดูเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าไม่แตกต่างจากการเลี้ยงดูเด็กปกติมากนัก จะแตกต่างกันเพียงแต่เรื่องของโรคที่เด็กเป็นบางโรค เช่น โรคหัวใจ จำเป็นต้องดูแลในเรื่องของ การรักษาพยาบาล หรือการพาไปพบแพทย์ผู้รักษาตามนัด ข้อแนะนำในการเลี้ยงดูเด็ก ที่มีพัฒนาการล่าช้า ก็จะเหมือนกับเด็กทั่วไป กล่าวคือ
การให้ความรักและตอบสนองความต้องการของเด็ก
ในช่วงแรกของชีวิตเด็กควรได้รับการปกป้อง คุ้มครองดูแลเอาใจใส่ และการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต คือ ได้รับอาหารเพื่อให้เติบโต และได้รับความรักซึ่งเป็นอาหารทางใจที่จำทำให้เด็กได้เกิดความรู้สึกมั่นคง เชื่อมั่นต่อโลกภายนอก ต ลอดจนการปกป้องให้พันจากภัยอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก ทั้งนี้พ่อแม่ ควรสำนึกเสมอว่า เมื่อมีลูกก็จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบใน บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ โดยควรจัดลำดับความสำคัญของงาน และจะต้องถือว่างานในฐานะพ่อแม่ เป็นงานที่หนักและมีความสำคัญมาก อยู่ในลำดับต้นๆ ที่จะต้องแบ่งเวลาให้
การยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
พ่อแม่ต้องยอมรับว่าลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยมีความแตกต่างในพื้นอารมณ์ บุคลิกภาพ ความแข็งแรงของร่างกาย เชาวน์ปัญญา ลูกอาจจะเป็นเด็กหน้าตาไม่ดี ไม่ค่อยแข็งแรง ไม่คล่องแคล่วว่องไว หรือลูกอาจเป็นเด็กใจร้อน เจ้าอารมณ์ การยอมรับในตัวเด็กจะนำมาสู่การดูแลที่เหมาะสม ต้องเข้าใจว่าไม่มีสูตรสำเร็จของการเลี้ยงดูเด็ก แต่มีหลักการกว้างๆ ทั้งนี้ขึ้นกับวิธีการที่พ่อแม่จะนำไปปรับใช้กับเด็กแต่ละคนให้ได้ผล เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวของเขานั่นเอง
หาความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและพัฒนาการตามวัยที่ควรเป็น
ความรู้ที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ ดังนั้นพ่อแม่ควรพยายามหาความรู้ในการเลี้ยงดูโดยวิธีการต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือที่กล่าวถึงวิธีการในการเตรียมตัว เป็น พ่อแม่ และการถามจากผู้รู้เพื่อขอคำแนะนำ ตัวอย่างเช่น วิธีการอุ้มเด็กอ่อน ความรู้ว่าเด็กในวัยต่างๆ ควรทำอะไรได้บ้าง เช่น ลูกอายุ 2 เดือน ควรจ้องหน้าแม่และยิ้มตอบได้ แต่ถ้าลูกของเรายังไม่สามารถทำได้ก็ควรไป ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำ เป็นต้น ทั้งนี้ควรมีการตื่นตัวในเรื่องเหล่านี้ ไม่ควรปล่อยผ่านไปในสิ่งที่ยังข้องใจ
การอบรมสั่งสอนและการฝึกวินัยให้กับเด็ก
การฝึกวินัยและการอบรมสั่งสอน มีความจำเป็นอย่างยิ่งควบคู่ไปกับการเลี้ยงดูทั่วๆไป แม้ว่าเด็กจะมีพัฒนาการล่าช้า ก็จำเป็นต้องมีการอบรม สั่งสอนเลี้ยงดูในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ ตั้งแต่เล็ก เช่น ตอนเป็นทารก ก็ควรจะต้องรู้จักรอแม่ที่จะให้นม ไม่ใช่ว่าหิวก็จะได้กินทันที ต่อมาก็ต้องหัดให้กินนอนเป็นเวลา พอโตขึ้นก็ต้องรู้จักช่วยเหลือตนเอง เช่น การตักอาหารเข้าปาก การใส่เสื้อผ้า แต่งตัว ล้างมือที่เปรอะเปื้อน การบอกความต้องการ การอบรมสั่งสอนต้องยึดกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับเป็นหลัก และถือหลักว่าเด็กมีอายุหรือวุฒิภาวะเหมาะสมในการฝึกหัดให้เด็กทำพฤติกรรมหนึ่งได้แล้ว โดยมีพื้นฐานอยู่ที่การฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอให้เป็นนิสัย และให้แรงเสริมเมื่อทำพฤติกรรมที่เหมาะสม หรือลงโทษเมื่อทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

หลักการในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
1) ควรมีการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในทุกๆด้านที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นด้านการเคลื่อนไหว การใช้มือหยิบจับ การใช้ภาษา และการช่วยเหลือตนเอง รวมถึงการ กระตุ้นปลายประสาทสัมผัสในการรับรู ้ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส ทางกาย การรับรู้กลิ่น การรับรู้รส
2) การฝึกควรเลียนแบบบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่บ้าน แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาสอนเป็นทักษะต่างๆที่ให้เด็กเรียนรู้ เพื่อให้พ่อแม่ และตัวเด็กเองนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3) พยายามให้เด็กช่วยตัวเองให้มากที่สุด โดยในระยะแรกควรมีการช่วยเหลือก่อน ต่อไปควรเปิดโอกาสให้เด็กทำด้วยตนเอง เช่น ในเด็กเล็กควรจับเด็กให้อยู่ในท่าทางต่างๆ เปลี่ยนกันไปไม่ให้อยู่ในท่าเดียวซ้ำๆ เพื่อช่วยให้เด็กมีประสบการณ์การเรียนรู้ในท่าทางต่างๆเหล่านั้น ซึ่งเป็นผลให้เด็กมีการเรียนรู้ในการทรงตัวดีขึ้น
4) ควรมีการทำพฤติกรรมตัวอย่าง เพื่อให้เด็กเลียนแบบ และทำซ้ำๆกันหลายๆครั้ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
5) ให้ความสำคัญกับการฝึกเด็ก ควรคิดเสมอว่า การสอนหรือการกระตุ้นพัฒนาการ สามารถทำได้โดยไม่เลือกเวลา หรือสถานที่
6) ให้แรงเสริม ให้กำลังใจ และคำชมเชย ทั้งคำพูดและการกระทำ เมื่อเด็กสามารถทำพฤติกรรมที่สอนหรือฝึกหัดได้ เช่น การพูดชม หรือท่าทีพอใจกอดรัดเด็ก
7) การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไปในบ้าน เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อการกระตุ้นประสาทสัมผัส เช่น การติดภาพสีสดใส การให้เด็กมีโอกาสเล่นของเล่นที่เหมาะสมตามวัย
ความสำเร็จในการช่วยเหลือเด็กนั้น อยู่ที่ความร่วมมือกันทั้งจากผู้ปกครอง และบุคลากรทางการแพทย์หลายฝ่าย