แนวทางแก้ไข | ปัญหาและการแสดงออก |
-พ่อแม่มีความคงที่สม่ำเสมอ ไม่กลับคำพูดไปมาไม่แน่นอน ความสม่ำเสมอคงของพ่อแม่ จะช่วยให้ลูกแน่ใจในพฤติกรรมของพ่อแม่ และมั่นใจในการกระทำของตนเอง -พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กแสดงตความสามารถ หรือความคิดเห็นอยู่เสมอ และควรให้คำชมเชยหรือกำลังใจ เพื่อให้เด็กตั้งใจททำต่อไป -พ่อแม่ไม่ควรคอยตำหนิหรือ ช่วยเหลือเด็กทำสิ่งต่างๆตลอดเวลา เพราะจะทำให้คิดว่าตนเองไม่มีความสามารถ หรือทำไม่ได้ การปล่อยให้เด็กรับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ ตามความสามารถจะช่วยสร้างความมั่นใจให้เด็กได้ -เมื่อเด็กทำสิ่งใดผิดพลาด พพ่อแม่ควรแนะนำให้แก้ไขปรับปรุง หากเด็กทำได้ดียิ่งขึ้นพ่อแม่ควรให้คำขมเชยด้วย | 1.เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง -เด็กไม่กล้าแสดงออกหรือทำสิ่งต่าง ๆ นอกจากคำสั่งของพ่อแม่ -เด็กไม่กล้าตัดสินใจ กลัวจะตัดสินใจผิด หรือรู้สึกไม่แน่ใจ -เด็กต้องพึ่งผู้ใหญ่หรือพึ่งเพื่อนในการตัดสินใจ หรือดำเนินชีวิตเสมอ |
-พ่อแม่ควรเข้าใจลักษณะสำคัญของเด็กสมาธิสั้นและอดทนกับเด็ก เพราะเด็กเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมตนเองจึงเป็นเช่นรั้น -พ่อแม่ไม่ควรเพิ่มความกดดันให้กับเด็กโดยบังคับหรือลงโทษให้เด็กอยู่นิ่ง ๆ เพราะเด็กก็ทำไม่ได้ ควรพยายามจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้อยู่ในที่เงียบ ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิดียิ่งขึ้น -ควรมอบหมายให้เด็กทำงานที่ใช้เวลาช่วงสั้น ๆ เมื่อเด็กทำสำเร็จก็ควรให้คำชมเชยด้วย -พ่อแม่ควรพาเด็กไปพบจิตแพทยเพื่อช่วยเหลือบำบัดรักษาให้อาการเหล่านี้ทุเลาลง | 2. ปัญหาเด็กสมาธิสั้น -เด็กจะอยู่นิ่ง เคลื่อนไหวและซนมากตลอดเวลา มีความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นช่วงสั้น ๆ -เด็กไม่ค่อยอดทน รอคอยอะไรนานๆ ไม่ค่อยได้ -ไม่มีความตั้งใจจะทำงานให้สำเร็จด้วยตนเอง -มีปัญหาการเรียนเนื่องจากไม่สามารถอดทน ติดตามบทเรียนจนจบได้ |
-พ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้ ควรถามถึงเหตุผล อธิบายให้เด็กฟังว่าการกระทำเช่นนี้ เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง และควรให้เด็กเอาไปคืนเจ้าของ -หาทางออกให้เด็ก เช่น ถ้าพบว่าเด็กต้องการความสนใจ พ่อแม่ก็ควรใช้ความรักความเอาใจใส่เด็กมากขึ้น ถ้าเด็กต้องการแก้แค้นเพื่อนควรสอนให้เด็กพูดกับเพื่อนตรง ๆ เป็นต้น -พ่อแม่ไม่ควรลงโทษเด็กอย่างรุนแรง เพราะอาจจะเป็นการผลักดันให้เด็กกระทำผิดซ้ำอีก | 3. เด็กขโมยของเพื่อน -เด็กจะขโมยของของคนอื่นมาเป็นของตนเอง ของที่เด็กขโมยมักเป็นของที่อยากได้หรืออุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ ส่วนใหญ่ปัญหานี้เกิดขึ้นกับเด็กวัย 6-7 ขวบ ทั้งนี้เด็กไม่ได้มีนิสัยขี้ขโมยแต่อาจมีเหตุผลหลายอย่าง เช่น เพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ ต้องการแก้แค้นเพื่อน พิสูจจน์ว่าตนเองเป็นคนกล้าหาญ เป็นต้น |
-พ่อแม่ควรคอยซักถามถึงคนที่อยู่รอบข้างเด็ก เช่น เพื่อนว่ามีใครบ้าง เล่นอะไรกับใคร เป็นเพื่อนที่ดีบ้างหรือไม่ ควรพูดคุยด้วยความเป็นกันเอง เด็กจะได้รู้สึกไว้วางใจและเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น -พ่อแม่ควรสอนวิธีการหลีกเลี่ยงเด็กเกเร เช่น ไม่พูดคุยหรือเกี่ยวข้องด้วย และควรสนับสนุนให้คบเพื่อนที่ดี หรือเพื่อนที่ช่วยปกป้องเด็กได้ -เพิ่มความมั่นใจให้กับเด็ก โดยเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็นเป็นของตนเอง รู้จักโต้แย้งอย่างมีเหตุผล รู้จักปฏิเสธ และให้กำลังใจเด็กเสมอ ๆ -เพิ่มความเข้มแข็งให้กับเด็กโดยสนับสนุนให้เล่นหรือสอนวิชาป้องกันตัว | 4. ปัญหาเด็กถูกรังแก -เด็กไม่รู้จักวิธีการป้องกันตัวเอง ปล่อยให้เพื่อน พี่หรือน้อง รังแกได้ง่าย ๆ ถูกรังแกแล้วก็ไม่ยอมบอกใคร บางครั้งถูกขุ่ไม่ให้บอกพ่อแม่หรือครู -มีท่าทางอ่อนแอ ขี้กังวล กลัวเพื่อน ไม่ยอมให้เข้ากลุ่ม กลัวพี่ไม่พูดด้วย ต้องพึ่งพิงคนอื่นเสมอ |
-พ่อแม่ควรพูดคุยกับเด็กถึงผลเสียที่เด็กจะได้รับจากการอ่านแต่หนังสือการ์ตูน หรือดูแต่โทรทัศน์ และตกลงกันถึงช่วงเวลาของการดูการ์ตูน หรือเล่นการ์ตูนให้ชัดเจนและลดน้อยลง โดยแบ่งเวลาไปทำการบ้านและช่วยเหลืองานบ้านด้วย -พ่อแม่ควรตามดูแลเด็กให้ทำการบ้านให้เรียบร้อย และช่วยเหลืองานบ้านตามที่ตกลงกันไว้อย่างสม่ำเสอม และไม่ควรยอดเมื่อเด็กต่อรอง เพื่อขออ่านการ์ตูนหริอเล่นเกมส์ ก่อน -ถ้าเด็กทำตามที่ตกลงกันไว้ พ่อแม่ควรชมเชย หรือให้กำลังใจด้วย | 5. เด็กติดการ์ตูนหรือเกมส์ -เด็กจะอ่านแต่หนังสือการ์ตูน หรือดูการ์ตูน เล่นเกมส์ ไม่ยอมทำการบ้าน และช่วยเหลือ งานบ้าน |
-เมื่อพ่อแม่ได้ยินพูดจาด้วยคำหยาบคาย ไม่ว่าจะพูดกับเพื่อน หรือ เป็นคำอุทานก็ตามพ่อแม่ควรทักท้วง ตักเตือนและบอกถึงผลเสียของการพูดคำหยาบคาย เด็กอาจจะโต้แย้งว่าเพื่อน ๆ ก็พูดกัน พ่อแม่ก็ควรอธิบายให้เด็กฟังว่า เด็กไม่จำเป็นต้องเอาอย่างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเพื่อน -พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้คำพูดในบ้าน | 6. เด็กชอบพูดคำหยาบ -เด็กจะพูดคำหยาบเวลาที่ไม่พอใจหรือเล่นกับเพื่อนฝูง |
-เมื่อเด็กต้องการจะทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง พ่อแม่ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำตามความสามารถของเด็ก และถ้าเด็กทำได้ดี พ่อแม่ควรแสดงความชื่นชม หรือให้คำชมเชย -พ่อแม่ต้องพยายามกระตุ้นให้เด็กทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น รินน้ำกินเอง ทำการบ้านเองโดยพ่อแม่ไม่ต้องช่วยเหลือ ทั้งนี้ พ่อแม่ไม่ควรเข้มงวดหรือจู้จี้จุกจิกจนเกินไป -พ่อแม่ต้องไม่ช่วยเด็กทุกอย่างทุกเรื่อง บางเรื่องอาจจะต้องปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยพ่อแม่ช่วยสอนหรือชี้แนะแนวทางให้ -พ่อแม่ควรมอบหมายความรับผิดชอบให้เด็กทำตามความสามารถของเด็กแต่ละวัย -พ่อแม่ต้องไม่บงการลูกทุกเรื่อง | 7. เด็กไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง -เด็กจะมีลักษณะขี้เกียจ ไม่ยอมทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เช่น ต้องปลุกให้ลุกจากที่นอนทุกเช้าจัดกระเป๋า เตรียมชุดนักเรียนให้ ทั้ง ๆ ที่เด็กมีความสามารถจะทำเองได้ พ่อแม่ต้องคอยเตือนและคอยช่วยเหลือทุกอย่าง รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่เด็กควรจะใช้ความสามารถของตนเองจัดการแก้ไข |
-ถ้าเป็นเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ควรให้เด็กทำกิจกรรมอยู่ใกล้ๆ อย่าปล่อยให้เล่นกับเพื่อนตามลำพัง หรือไม่เช่นนั้น ผู้ใหญ่ ต้องมีมาตรการโดยบอกกับเด็กว่า ใครที่ลงมือทำร้ายอีกฝ่ายก่อนต้องถูกลงโทษ -หากเด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ผู้ใหญ่ต้องถามถึงสาเหตุฟังเด็กพูด และลองเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่ดีกว่า เช่น การพูดแสดงความไม่พอใจออกไปตรง ๆ -ไม่ควรลงโทษเด็กอย่างรุนแรง เพราะไม่เกิดประโยชน์แต่กลับจะทำให้เด็กด้านไม้เรียวและเจ้าคิดเจ้าแค้น -ในเด็กโต พ่อแม่ไม่ควรลงโทษ กระทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ พ่อแม่ควรถามถึงสาเหตุ ชี้แจงถึงผลเสียของการใช้กำลังก้าวร้าว และชี้แนะวิธีที่เหมาะสม เช่น อดกลั้นนับ 1-10 บอกความไม่พอใจออกมาตรง ๆ ให้อภัยเพราะเป็นเพื่อนกัน ซึ่งทุกคนก็ทำผิดพลาดกันได้ -ไม่ควรยั่วยุให้เด็กโกรธ -หากเด็กโกรธ แสดงท่าทางก้าวร้าวมาก ในเด็กเล็กให้ผู้ใหญ่กอดเด็กให้แน่นเพื่อยุติพฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนเด็กโตควรแยกเด็กให้อยู่ตามลำพังเพื่อให้เด็กสงบจิตใจ หลังจากนั้นจึงค่อยพูดคุยกันถึงสาเหตุต่างๆ | 8. เด็กก้าวร้าว -เด็กชอบรักแก เล่นรุนแรงกับเพื่อน มักก่อเรื่องวุ่นวาย ชอบทะเลาะกับเพื่อนหรือพี่น้องวัยเดียวกันเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ เกิดจากการที่เด็กรับรู้และเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม เช่น ความก้าวร้าวของผู้ใหญ่ใกล้ชิด หรือจากภาพยนตร์ เป็นต้น |
-พ่อแม่ควรมีข้อตกลงกับลูกและทำตามข้อตกลงนั้น เช่น ทุกเช้าลูกต้องที่นอนให้เรียบร้อย ถ้าทำได้ตลอดอาทิตย์ แม่จะพาไปห้างสรรพสินค้า -พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอ -ให้รางวัลหรือชื่นชมเมื่อเด็กรักษาวินัย และลงโทษเมื่อเด็กทำผิดไม่ปฏิตามระเบียบวินัย | 9. เด็กไม่ยอมทำตามระเบียบวินัย -เด็กจะมีลักษณะ ดื้อ ไม่ยอมทำตามกฏระเบียบ ควบคุมตนเองให้ทำไตามกฏระเบียบไม่ได้ -ทำสิ่งต่างๆ ตามใจตนเอง -ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยผัดวันประกันพรุ่ง ไม่รับผิดชอบ |
-เป็นโอกาสให้เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง -พ่อแม่ควรมีเงื่อนไขว่า สิ่งที่เด็กตัดสินใจเลือก เด็กก็ต้อง มีหน้าที่รับผิดชอบด้วย เช่น เด็กอยากเรียนดนตรีชอบดนตรีก็ต้องตั้งใจเรียน และทำการบ้านให้เรียบร้อย -พ่อแม่ต้องรับผิดชอบภาระหน้าที่ต่าง ๆ ให้เป็นตัวอย่างแก่ลูก -พ่อแม่ต้องไม่จู้จี้ และตำหนิมากเกินไป และชื่นชมเมื่อเด็กรับผิดชอบหน้าที่ได้ดี -พ่อแม่อาจสอนเด็กด้วยการเล่นนิทาน เน้นตัวอย่างของการสร้างค่านิยมให้เด็กมีความรับผิดชอบ | 10. เด็กขาดความรับผิดชอบ -เด็กจะขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และสิ่งที่ได้รับมิบหมาย เช่น ไม่ทำการบ้าน ไม่เก็บที่นอน อยากเลี้ยงสัตว์ แต่ไม่อยากเป็นภาระดูแลให้อาหาร เป็นต้น |
-พ่อแม่ไม่ควรตั้งความสมหวังเรื่องการเรียนของเด็กสูงจนเกินไป ควรตั้งความหวังตามความเป็นจริง -พ่อแม่ยอมรับและชื่นชมความสามารถของเด็กทที่มีอยู่และ พยายามสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาจุดเด่นของเขาให้มากที่สุด -ไม่ยัดเยียดความเก่งให้ลูกทุกด้าน เด็กควรเรียนพิเศษเฉพาะวิชาที่สนใจ หรือเรียนตามเพื่อนำไม่ทัน -พ่อแม่ควรสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อการเรียน เรียนเพื่อรู้ไม่ใช้เรียนเพื่อสอบ ดังนั้นเด็กควรได้รับการส่งเสริมความรู้อื่น ๆ นอกเหนือจากตำรา -พ่อแม่ควรสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้ลูกด้วย เช่น เรียนภาษาอังกฤษ จะได้พูดกับชาวต่างชาติได้ | 11. ปัญหาการเรียนในเด็ก -เด็กเบื่อการเรียนเนื่องจากถูกเคี่ยวเข็ญยัดเยียดเกินไป เด็กปฏิเสธการเรียนไม่ตั้งใจเรียน ไม่รับผิดชอบเรื่องการเรียน |
-พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี -พ่อแม่ไม่ควรตามใจลูกมากจนเกินไป ให้ลูกรู้คุณค่าของเงิน เช่น ถ้าอยากได้เงินพิเศษต้องทำงานแลก เป็นต้น -ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องด้วยการที่พ่อแม่สอดแทรกแนวความคิด การเห็นคุณค่าของจิตใจมากกว่าวัตถุนิยม ให้ลูกฟังอยู่เสมอ -ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตัวเด็ก เช่น การมีครอบครัวอบอุ่น การเป็นคนมีน่ำใจ -พ่อแม่ต้องมีเทคนิคการไม่ตามใจลุก โดยการปฏิเสธอย่างเข้มแข็ง แต่มีเหตุผล เช่น การแสดงความห่วงใย การเน้นความสนใจไปทำกิจกรรมอื่น การยืนยันความต้องการพ่อแม่ เป็นต้น | 12. เด็กมีค่านิยมทางวัตถุนิยมสูง -เด็กจะใช้เงินฟุ่มเฟือย จับจ่ายไปกับการกินและข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จำเป็น เช่น ซื้อของกินที่ไม่มีคุณค่า ของใช้ยี่ห้อแพง ๆ หรูๆ ดูเด่นกว่า เพื่อนฝูง เป็นต้น -เด็กจะเบื่อง่าย ไม่รักษาของไม่ถนุถนอม หายก็ซื้อใหม่ -ไม่มีความยั้งคิดและรั้งรอเรื่องการจ่ายเงิน |
วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554
ปัญหาและแนวทางแก้ไขพฤติกรรมเด็ก
รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น