วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แนวการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

                                                               
 การสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยนั้น มีความแตกต่างจากการสอนในระดับอื่นคือ สามารถทำได้ทุกเวลาเมื่อมีโอกาส  สำหรับจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยนั้น เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิด ค้นคว้า แก้ปัญหา และเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่เด็ก โดยต้องคำนึงถึงการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กตามระดับพัฒนาการด้วย
     หลักการสอนคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์หรือการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. จัดประสบการณ์ที่ทำให้เด็กได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
3. มีการวางแผนอย่างดีและมีจุดมุ่งหมาย
4. คำนึกถึงการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. สังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้ของเด็ก
6. ใช้ประสบการณ์เดิมของเด็ก ในการสอนประสบการณ์ใหม่ และสถานการณ์ใหม่ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ในขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตประจำวัน
9. ให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10. ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
11. แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอ
12. ควรสอนความคิดรวบยอดในและครั้ง
13. แก้ไขปัญหาการการเรียนรู้ที่ได้จากการเล่นจากง่ายไปหายาก
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลข หรือเครื่องหมาย
15. ต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนคณิตศาสตร์
     1. ทฤษฎีการเรียนรู้พหุปัญญา โดยการ์ดเนอร์ ได้กล่าวไว้ว่า บุคคลทุกคนมีความสามารถทุกด้าน แต่มีอยู่ในระดับที่ไม่เท่ากัน และมักจะมีความสามารถอย่างน้อยหนึ่งด้าน ที่เด่นกว่าด้านอื่นๆ ความสามารถในแต่ละด้านจะถูกควบคุมโดยสมองส่วนต่างๆ เมื่อใดที่สมองส่วนนั้นถูกทำลาย ความสามารถด้านนั้นก็จะลดลงไปด้วย และเมื่อความสามารถด้านใดได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพแล้ว จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาความสามารถด้านอื่นๆให้พัฒนามากขึ้น
     2. ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ ความรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ เกิดจากประสบการณ์ของเด็กในการลงมือกระทำกับวัตถุ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ได้มาจากการจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ และมีโอกาสพบกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหา มีการใช้คำถามที่กระตุ้นให้ใช้ความคิดไตร่ตรองถึงวิธีการแก้ปัญหา รวมทั้งลงมือแก้ปัญหาจากสื่อที่เป็นรูปธรรม ภายใต้บรรยากาศของการมีปฎิสัมพันธ์และความเท่าเทียมกัน
     3. ทฤษฎีการเรียนการสอนของบรูเนอร์ ตามแนวคิดของบรูเนอร์นี้ นำมาใช้ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์หลายๆ รูปแบบ เช่น การใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม การใช้ภาพ การใช้ภาษาเขียน การใช้ภาษาพูด และการใช้สถานการณ์จริง โดยการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นให้เด็กได้พูดและเขียนมากขึ้น
          รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้แก่ การสอนโดยเน้นความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์และการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ การสอนตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ และการสอนแบบบูรณาการ เป็นต้น ซึ่งการสอนแต่ละรูปแบบนี้ให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เหมือนกัน แต่มีกระบวนการในการจัดการเรียนรู้แตกต่างกัน ส่วนเทคนิควิธีการสอนคณิตศาสตร์มีมากมายหลายวิธี ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ต้องรู้จักใช้ตามความเหมาะสม เช่น การยกตัวอย่างและการสร้างโจทย์ปัญหา การใช้สื่อการสอนจากวัสดุต่างๆ การสร้างวัสดุประกอบการสอน กิจกรมนันทนาการ การใช้รูปเรขาคณิตศาสตร์รูปต่างๆ การต่อภาพ การใช้โจทย์แบบฝึกหัด การใช้สื่อการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหา การปฏิบัติจริงและการสอนซ่อมเสริม และกลวิธีที่ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ได้แก่ การนำเข้าสู่บทเรียน การใช้คำถาม การยกตัวอย่าง และการสรุปบทเรียน สื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

คุณค่าของสื่อการสอน
          สื่อการสอนทั้งวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ชวนส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก  ทำให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เรียนมากขึ้น  เด็กได้สัมผัสสื่อด้วยตัวเองได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู
สื่อการสอนยังช่วยสนับสนุนพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์  ด้านสังคม  และด้านสติปัญญาให้กับเด็ก  ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์  หรือการเล่น  ล้วนทำให้เด็กได้พัฒนาทักษะกลไกของร่างกาย ได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ตามจินตนาการ ทำให้เด็กสร้างองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือทำนั้นได้คุณค่าหรือประโยชน์ของสื่อการสอนในการนำมาจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย  มีอยู่มากมาย  แต่การที่จะทำให้สื่อการสอนเกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของผู้นำสื่อไปใช้
คุณค่าของสื่อการสอนปฐมวัยมีดังนี้
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะตรงกับความเป็นจริง มีความหมายชัดเจน
2. เด็กเรียนรู้ได้มากขึ้น
3. เด็กเกิดความประทับใจ และไม่ลืมง่าย
4. ช่วยให้เด็กสนใจและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
5. ส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
6. เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้สะดวก
7. ทำให้สิ่งที่ซับซ้อนง่ายขึ้น
8. ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
9. ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
10. ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้เร็วขึ้น
11. ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อขนาดลง
12. ทำสิ่งที่เล็กมากให้ใหญ่ขึ้น
13. นำอดีตมาใช้ศึกษาได้
14. นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้

                                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น